มงคลสูตร ๓๘

   ที่มาแห่งมงคล       อุปปัตติกะถา       หัวใจพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙
๑. อะเสวะนา จะ พาลานัง - การไม่คบคนพลาน      ๒๐. มัชชะปานา จะ สัญญะโม - การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒. ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา - การคบบัณฑิต      ๒๑. อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ - ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
๓. ปูชา จะ ปูชะนียะ นัง - การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๒๒. คาระโว - ความเคารพ
๔. ปะฎิรูปะเทสะวาโส - การอยู่ในประเทศอันสมควร ๒๓. นิวาโต - ความเจียมตน
๕. ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา - ความทำบุญไว้ในปางก่อน ๒๔. สันตุฎฐิ - ความสันโดษ
๖. อัตตะสัมมาปะณิธิ - การตั้งตนไว้ชอบ ๒๕. กะตัญญุตา - ความกตัญญู
๗. พาหุสัจจัง - ความเป็นผู้สดับฟังมาก ๒๖. กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง - การฟังธรรมตามกาล
๘. สิปปัง - ความฉลาดในหัตกรรม ๒๗. ขันติ - ความอดทน
๙. วินะโย จะ สุสิกขิโต -วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๒๘. โสวะจัสสสะตา - ความเป็นผู้ว่าง่าย
๑๐. สุกาสิตา จะ ยา วาจา - วาจาที่กล่าวดีแล้ว ๒๙. สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง -การเห็นสมณะทั้งหลาย
๑๑. มาตาปิตุอุปัฎฐานัง - การบำรุงมารดาบิดา ๓๐. กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา - การสนทนาธรรมตามกาล
๑๒. ปุตตะสังคะโห - การสงเคราะห์บุตร ๓๑. ตะโป - ความเพียรเป็นเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน
๑๓. ทารัสสะ สังคะโห - การสงเคราะห์ภรรยา ๓๒. พรหมมะจะริยัง - ความประพฤติธรรมอันประเสริฐ
๑๔. อะนากุสา จะ กัมมันตา - การงานอันไม่อากูล ๓๓. อิริยะสัจจานะ ทัสสะนัง - การเห็นอริยสัจ
๑๕. ทานัง - การให้ ๓๔. นิพพานะสัจฉิกิริยา - การทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน
๑๖. ธัมมะจะริยา - การะประพฤติธรรม ๓๕. ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ -
             ผู้ที่โลกธรรมถูกต้องแล้วจิตไม่หวั่นไหว
๑๗. ญาตะกานัญจะ สังคะโห - การสงเคราะห์ญาติ ๓๖. อะโสกัง - จิตอันไม่เศร้าโศก
๑๘. อะนะวัชชานิ กัมมานิ - การอันหาโทษมิได้ ๓๗. วิริชัง - จิตอันปราศจากธุลี คือ กิเลส
๑๙. อาระตี วิระตี ปาปา - การงดเว้นจากบาป ๓๘. เขมัง - จิตอันเกษม

     มงคล คือ เหตุอันนำมาซึ่งความเจริญ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๓๘ ประการ
มงคลที่ ๑ - ๑๘ เป็นข้อปฏิบัติ ในการสร้างชีวิตให้เป็นคนดี พึ่งตนเอง และช่วยเหลือสังคม
มงคลที่ ๑๙ - ๓๘ เป็นข้อปฏิบัติ ในการฝึกใจเพื่อกำจัดกิเลส ตัณหา อุปาทาน

หมู่ที่ ๑ ทำความเห็นให้ถูกต้อง
๑. อะเสวะนา จะ พาลานัง : ไม่คบคนพาล
๒. ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา : คบบัณฑิต (ผู้มีปัญญา)
๓. ปูชา จะ ปูชะนียะ นัง: บูชาบุคคลที่ควรบูชา

หมู่ที่ ๒ มองปัจจัยพื้นฐาน
๔. ปะฎิรูปะเทสะวาโส จะ : อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
๕. ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา : เคยทำบุญมาก่อน
๖. อัตตะสัมมาปะณิธิ : ตั้งตนชอบ

หมู่ที่ ๓ รู้งานดีมีวินัย
๗. พาหุสัจจัง จะ : มีความรู้ (พหูสุต)
๘. สิปปัง จะ : ทำงานดี (มีศิลปะ)
๙. วินะโย จะ สุสิกขิโต : มีวินัย
๑๐. สุกาสิตา จะ ยา วาจา : พูดดี (วาจาสุภาษิต)

หมู่ที่ ๔ ทำให้ครอบครัวอบอุ่น
๑๑. มาตาปิตุอุปัฎฐานัง : บำรุงบิดามารดา
๑๒. ปุตตะสังคะโห: สงเคราะห์บุตร
๑๓. ทารัสสะ สังคโห : สงเคราะห์ภรรยา (สามี)
๑๔. อะนากุสา จะ กัมมันตา : การงานไม่คั่งค้าง

หมู่ที่ ๕ เกื้อหนุนต่อสังคม
๑๕. ทานัง จะ : การให้ (สิ่งของ,อภัย,ความรู้)
๑๖. ธัมมะจะริยา จะ : ประพฤติธรรม
๑๗. ญาตะกานัญจะ สังคะโห : สงเคราะห์ญาติ
๑๘. อะนะวัชชานิ กัมมานิ : ทำงานไม่มีโทษ

หมู่ที่๖ ปฏิบัติธรรมะขั้นพื้นฐาน
๑๙. อาระตี วิระตี ปาปา : งดเว้นบาป (ความชั่ว)
๒๐. มัชชะปานา จะ สัญญะโม : สำรวมในการเสพของมึนเมา
๒๑. อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ : ไม่ประมาทในพระธรรม

หมู่ที่๗ ปฏิบัติธรรมะขั้นต้น
๒๒. คาระโว จะ : มีความเคารพ
๒๓. นิวาโต จะ : มีความถ่อมตน
๒๔. สันตุฎฐิ จะ : มีความสันโดษ (ความยินดี ในของของตน)
๒๕. กะตัญญุตา : มีความกตัญญู (รู้คุณที่ผู้อื่นทำไว้)
๒๖. กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง : ฟังธรรมตามเวลาที่สมควร

หมู่ที่ ๘ ปฏิบัติธรรมะขั้นกลาง
๒๗. ขันติ จะ : มีความอดทน
๒๘. โสวะจัสสสะตา : เป็นคนว่าง่าย
๒๙. สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง : เห็นผู้สงบ (สมณะ)
๓๐. กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา : สนทนาธรรมตามเวลาที่สมควร

หมู่ที่ ๙ ปฏิบัติธรรมะขั้นสูง (ดับกิเลส)
๓๑. ตะโป จะ : พยายามลดละกิเลส
๓๒. พรหมมะจะริยัง จะ : ประพฤติอย่างพรหม(อยู่คนเดียว)
๓๓. อิริยะสัจจานะ ทัสสะนัง : เห็นความจริงที่ประเสริฐ
๓๔. นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ : ดับกิเลสภายในใจ

หมู่ที่๑๐ รับผลจากการปฏิบัติธรรมะ
๓๕. ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง
ยัสสะ นะ กัมปะติ : จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖. อะโสกัง : จิตไม่โศกเศร้า
๓๗. วิริชัง : จิตไม่มีมลทิน
๓๘. เขมัง : จิตสงบ

  พระสูตรความย่อ ทิฏฐิกถา           ลิ้งค์เว็บพระเจ้าสิบชาติ
ลิ้งค์เว็บมิลินทปัญหา           ลิ้งค์ธรรมะกับชีวิต

   01 - 21 - 2005