มงคลที่ ๑๖
ธัมมะจะริยา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
การประพฤติธรรม เป็นอุดมมงคล

    เย ชะนา ธัมมะจะริยา สะมะจะริยาติ กาเยนะ สุจะริตัง วาจายะ สุจะริตัง มะนะสา สุจะริตัง จะ ยันตีติ.

    ณ บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๑๖ ตามพระบาลี และอรรถกถาดำเนินความว่า ชนทั้งหลายใดประพฤติซึ่งธรรมความชอบ ประกอบด้วยสุจริตอยู่เนืองนิตย์มิได้ขาด จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

   ความประเสริฐนั้นมีอยู่ ๑๐ คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ เป็น ๑๐ เรียกว่า กุศลกรรมบถ เป็นหนทางที่เกิดที่ไหลมาแห่งกุศล อีกอย่างหนึ่ง บุคคลประพฤติซึ่งกรรมบถสุจริตทั้งหลาย จึงจัดเป็นธรรมที่จะไม่นำสตว์ไปสู่อบาย เพราะฉะนั้นความสุจริตทั้ั้งหลาย จึงจัดเป็นธรรมที่จะนำสัตว์สู่สุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์เป็นเบื้องหน้า ฯ

   บัดนี้ จักได้วิสัชนาซึ่งธรรมสุจริตทั้งหลาย คือ กายสุจริต ๓ โดยบาลีว่า

   ปาณาติปาตา เวระมะณี ความวิรัติเจตนาเว้นจากบาปทางกาย คือ ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิตให้ตายด้วยกาย วาจา ด้วยมีความเมตตาและขันติ ๑

   อะทินนาทานา เวระมะณี ความวิรัติเจตนา ละเว้นจากบาปทางกาย คือ ไม่ลักฉ่อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยกายและวาจา ด้วยความละละอายบาปกลัวบาป ๑

   กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี ความวิรัติเจตนาละเว้นจากบาปทางกาย คือ บุรุษไม่ล่วงประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา สตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น ๑

    วจีสุจริต ๓ คือ มุสสาวาทา เวระมะณี ความวิรัติเจตนาละเว้นจากบาปทางกาย คือ ไ่ม่พูดปดล่อลวงอำพางท่านผู้อื่น ๑

   ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี ความวิรัติเจตนา ละเว้นจากบาปทางวาจา คือ ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา ๑

   ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี ความวิรัติเจตนาจากบาปทางกาย คือ ไม่กล่าวคำหยาบช้าด่าชาติตระกูลผู้อื่น ๑

    สัมผัปปะลาปะ เวระมะณี ความวิรัติ เจตนางดเว้นจากบาปทางวาจา คือ ไม่กล่าวคำหาประโยชน์มิได้ ในชาตินี้และชาติหน้า ๑

   มโนกรรม ๓ คือ อะนะภิชฌา ไม่มีจิตโลภเจตนาคิดเพ่งเล็งจะลักข้าวของ ๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน ๑

   อัพพะยาปาโท ไม่มีจิตโกรธพยาบาท อาฆาตผูกเวรแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ๑

   สัมมาทิฏฐิโก จิตคิดเห็นชอบประกอบในทางธรรม คือ กัมมัสสกตาญาณปัญญา พิจารณาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมา อาศัยซึ่งกรรมคือกุศลและอกุศล ตกแต่งให้ผลซึ่งความดีความชั่วตามตัวของสัตว์ทั้งหลายที่กระทำไว้ ถ้าสัตว์ทั้งหลายทำกุศลให้ผลเป็นสุข ถ้าสัตว์ทั้งหลายทำอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ ตามยถากรรมที่สัตว์ทั้งหลายได้กระทำไว้ หรือปัญญาพิจารณาเห็นว่า ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป โลกนี้มี โลกหน้ามี สวรรค์มี นรกมี บุญมี บาปมี ทำบุญให้ผลเป็นสุข ทำบาปให้ผลเป็นทุกข์ ตามยถากรรม คุณบิดามารดามี คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มี ความเห็นอย่างนี้ เรียกว่าปัญญาสัมมาทิฏฐิเป็นโลกีย์ ฯ

   อนึ่ง พิจารณาให้พระไตรลักษณ์ ได้เห็นแจ้งประจักษ์ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ สังขาร ๑ วิญญาณ ๑ ด้วยอาการเป็น ๓ คือ ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง มีความปรวนแปรยักย้ายกลับกลายเป็นอย่างอื่น ๆ ไป ๑ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ทนไม่ได้ด้วยโรคภัยเข้าบีบคั้น ให้ปัญขันธ์แตกทำลายไป ทนอยู่ไม่ได้ด้วยกองทุกข์ ๑ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน เป็นของเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป ไม่ใช่ของใคร ห้ามไว้ไม่ได้ตามความปราถนา ๑ ปัญญาพิจารณาเห็นพระไตรลักษณ์ ทั้ง ๓ และเห็นพระิอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เห็นแจ้งประจักษ์จนละสักกายทิฏฐิขาดจากสันดาน ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา สัมมาทิฏฐิ ฯ

   อนึ่ง บุคคลทั้งหลายที่อยากได้มรรค ผล นิพพาน จงรักษาซึ่งกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ ให้สมบูรณ์ในสันดาน คงจะถึงมรรค ผลนิพพานเป็นแท้ ด้วยมโนกรรมสัมมาทิฏฐิ ท่านจัดไว้เป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิโฐิเป็นโลกีย์ ๑ สัมมาทิฏฐิเป็นโลกุดร ๑ เมื่อบุคคลรักษาได้ในสัมมาทิฏฐิโลกีย์ ก็จะได้ศึ่งสุคติ คือ มนุษย์และสวรรค์ ถ้ารักษาได้ในสัมมาทิฏฐิโลกุดร ก็จะได้ซึ่งมรรค ผล นิพพาน

   อนึ่ง บคคลรักษาในกรรมบถใน ๑๐ ประการ ให้บริบูรณ์ในสันดาน ถึงยังไม่ได้มรรค ผล นิพพาน ก็จะมีอานิสงส์ใหญ่ไพศาล ให้มีอายุยืนยาวนานถึง ๑๐๐ ปี ถ้ายังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ก็ยังไม่ตาย ดังนิทานเรื่อง พราหมณ์ผู้รักษากรรมบถ ๑๐ เป็นต้น ...

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป