อุปปัตติกาถา
ที่มาแห่งมงคล

    กถาว่าด้วยการบังเกิดขึ้นแห่งพระสูตร บัดนี้ จักได้กล่าวด้วยความบังเกิดแห่งสูตรทั้งหลายนั้น มี ๔ ประการ คือ เกิดขึ้นด้วยอัชฌาสัยองค์เอง ๑ บังเกิดขึ้นด้วยอัชฌาสัยแห่งผู้อื่น ๑ เกิดขึ้นด้วยมีเหตุ ๑ เกิดขึ้นด้วยการถาม ๑ เป็น ๔ มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยการถาม คือ เทพยดาทูลถาม พระองค์จึงตรัสเทศนา

    บัดนี้ จักได้วิสัชนาในเรื่องมงคลสูตร โดยเนื้อความเบี้องต้นมีอรรถว่า ชัมพูทีเป กิระ ดังจะได้ฟังมา มนุษย์ทั้งหลายอยู่ในชุมพูทวีปนี้ทั้งหญิงทั้งชายมาด้วยกัน มาสู่ที่ประชุมมีเมืองประตูเมืองและโรงที่รับแขกเป็นต้น ให้เงินแก่คนที่รู้เล่านิทาน คนที่รู้เล่านิทานเรื่องต่าง ๆ อันเป็นภายนอกพุทธศาสนา เอกะทิวะสัง อยู่มาวันหนึ่ง ชนทั้งหลายเจรจากันด้วยข้อความสุดดมเป็นมงคลว่า ความเห็นเป็นมงคล  ความได้ยินได้ฟังหรือเป็นมงคล  หรือความสุดดมเป็นมงคล  อะเถโก ปุริโส ครั้งนั้น ยังมีบุรุษผู้หนึ่งชื่อว่า ทิฎฐิมังคลิกะ ถือความเห็นเป็นมงคล จึงมีวาจาว่า ความเห็นรูปด้วยจักษุเป็นมงคลยิ่ง คือ เห็นรูปต่าง ๆ มีรูปช้างเผือกและม้าอัศดรเป็นต้น จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ ฯ

    เอโก ปุริโส ยังมีบุรุษผู้หนึ่งชื่อว่า สุตมงคลิกะ ถือความได้ยินได้ฟังเป็นมงคล จึงกล่าวว่า ความที่ได้ยินได้ฟังเป็นมงคลอันยิ่ง คือ ได้ยินได้ฟังเสียงต่าง ๆ มีเสียงขับร้องพิณพาทย์ระนาดฆ้องเป็นต้น จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ ฯ

    เอโก ปุริโส ยังมีบุรุษผู้หนึ่งชื่อว่า มุตมังคลิกะถือความสุดดมลิ้มเลียเป็นมงคล จึงกล่าวว่า ความที่ได้สูดดมลิ้มเลีย เป็นมงคลอันยิ่ง คือ ได้สูดดมลิ้มเลียของต่าง ๆ ที่มีกลิ่นมีรส จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ ฯ ครั้งนั้น บุรุษทั้ง ๓ คนก็กล่าวแก่งแย่งซึ่งกันและกัน บุรุษที่ ๑ ถือความเห็นเป็นมงคล เรียกว่า ทิฎฐมงคล ฯ บุรุษที่ ๒ ถือความได้ยินได้ฟังเป็นมงคล เรียกว่า สุตมงคล ฯ บุรุษที่ ๓ นั้น ถือความสูดดมลิ้มเลียเป็นมงคล เรียกว่า สุตมงคล ฯ คนทั้ง ๓ นั้น ถือมงคลต่าง ๆ กัน คนที่ ๑ ถือทิฏฐมงคล ฯ คนที่ ๒ ถือสุตมงคล ฯ คนที่ ๓ ถือมุตมงคล ฯ ถามว่า มงคลแปลว่าอย่างไร แก้ว่า มงคลมีอรรถว่า มังคะละอุตตะมัง เสฏฐัง แปลว่า ความเจริญอุดมโดยวิเศษ ถามว่า ความเจริญจะมีแก่ใคร แก้ว่า มีแก่ผู้ปฎิบัติตามข้อมงคลที่สมเด็จพระทศพลตรัสเทสนา เต มะนุสสา มนุษย์ทั้งหลายที่เชื่อบุรุษ ๓ คนนั้นก็นับถือมงคลเป็นพวก ๆ กัน คือ ทิฏฐิมงคลบ้าง ถือสุตมงคลบ้าง ถือมุตมงคลบ้าง เป็นพวก ๆ กันทั้งมนุษย์และเทพยดา

    ฝ่ายมนุษย์และเทพยดาทั้งหลายที่ไม่เชื่อบุรุษทั้งสามก็พากันคิดข้อมงคลว่า กินนุโข มังคะลัง อะไรหนอจะเป็นมงคลความเจริญของพวกเราทั้งปวง ความว่า ครั้งนั้น มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายพากันคิดซึ่งข้อมงคล เบื้องบนตลอดถึงพรหมโลก ฯ อะถะโข กาเล ในกาลครั้งนั้น ท้าวสุทธาวาสมหาพรหมทั้งหลายรู้ว่า มนุษย์และเทพยดาพากันคิดข้อมงคลก็ยังไม่สำเร็จความปราถนา จึงพากันมาร้องประกาศแก่มนุษย์ชาวชมพูทั้งปวงว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ยังอีก ๑๒ ปี สมเด็จพระมหามุนิจะตรัสเทศนาซึ่งมงคล ท่านทั้งหลายจงคอยฟังซึ่งข้อมูลมงคลเถิด ร้องประกาศแล้วพากันกลับไป

    ทะวาทะสะสังวัจฉะเร อะติกกันเต ครั้นล่วง ๑๒ ปี สมเด็จพระชินศรีได้เกิดขึ้นในโลก เทพยดาทั้งหลายในดาวดึงส์ก็พากันไปเฝ้าสมเด็จอมรินทรา กราบทูลซึ่งข้อมงคลที่มหาชนและเทพยดาถือกันต่าง ๆ นานาไม่รวมกัน ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นไม่ทราบชัด ขอพระองค์จงทรงตรัสซึ่งข้อมงคลแก่ข้าพเจ้าทั้งปวงเถิด ฯ

    สักโก ตัง สุตตะวา พระอินทราธิราชได้ฟังเทพยดาทูลซึ่งข้อมงคลครั้งนั้น พระองค์จึงตรัสถามว่า มงคลเกิดขึ้นในที่ไหน เทพยาดทูลว่า เกิดขึ้นในมนุษย์โลก พระองค์จึงถามว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ในที่ใดเล่า เทพยดาทูลว่า พระพุทธองค์ทรงอยู่ในมนุษย์โลก พระอินทร์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราทั้งหลายพากันไปทูลถามพระพุทธเจ้าเถิด จึงจะรู้ซึ่งข้อมงคล ตรัสดังนี้แล้วจึงมีเทวบัญชาให้เทพยาดองค์หนึ่งทูลถามข้อมงคล แด่พระทศพลให้แจ้งทุกประการ ส่วนท้าวมัฆวานก็พาเทพยดาลงมาสู่ชมพูทวีป เพื่อทูลถามข้อมงคลแก่พระสัพพัญญู ณ กาลครั้งนั้น ฯ

    บัดนี้จะได้แสดงตามพระสูตรว่า เอวัมเม เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เป็นต้น แปลคำมคธออกเป็นคำสยามว่า เอกัง สุตตัง อันว่าพระสูตรนี้ มังคะละสุตตัง ชื่อว่า มงคลสูตร เม อนันทัตเถระนะ อันตัวข้าพเจ้าผู้ชื่อว่า อานนทเถระ สุตังได้ฟังมา พุทธัปปะมุขา เฉพาะหน้าแห่งพระพุทธเจ้า เอวัง ดังนี้ เอกัง สะมะยัง ครั้งหนึ่ง หรือสมัยหนึ่ง ภะคะวา อันว่าพระผู้มีพระภาค วิหิระติ ทรงประทับอยู่หรืออาศัยอยู่ สาวัตถิยัง ในเมืองชื่อว่า สาวัตถี อะนาถะปิณฑิเกนะ อันเศรษฐีชื่อว่าอนาถบิณฑิกะ ปะริจจาเค สละหรือบริจาก จะตุปัญญาสะโกฎิธะนัง ซึ่งทรัพย์ ๕๔ โกฎิ การิเต ยังคนให้กระทำ เอกัง มะหาวิหารัง ซึ่งวิหารใหญ่หลังหนึ่ง เชตะวะนัง ชื่อว่า เชตวัน ถามว่า อย่างไรจึงเรียกว่า เมืองสาวัตถี แก้ว่า เมืองนั้นเป็นที่อยู่ของฤๅษีชื่อว่า สาวัตถฤๅษีมาแต่ก่อน ถามว่า อย่างไรจึงเรียกว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แก้ว่า มีอาหารให้คนยากจนรับปราทานอยู่เนืองนิตย์ เดิมเขาชื่ออะไร แก้ว่า เดิมเขาชื่อนานสุทัต มีสมบัติมาก มีความเลื่อมใสจิตศรัทธาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากจึงได้สร้างมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ ถามว่า อย่างไรวิหารนั้นจึงเรียกเชตวัน แก้ว่า ที่นั้นเป็นสวนของเจ้าเชตราชกุมาร

    นายสุทัตได้ติดต่อขอซื่อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏิที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม ดังนั้น พระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “ เชตวนาราม” มาจนทุกวันนี้ ฯ

    สมเด็จพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา ครั้งนั้น ยังมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งไม่มีชื่อปรากฎในบาลี ครั้นล่วงปฐมยามราตรีกระทำรัศมีให้สว่างทั้ง ๘ ทิศ พระพุทธองค์ทรงสถิตย์อยู่ในที่ใด เทพยดาก็เข้าไปสู่ที่นั้น ถวายอภิวาทองค์สมเด็จพระบมศาสดาแล้วยืนอยู่ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตัสสะมิง ขะเณ ขณะนั้นเทพยดาทั้งหลานในหมื่นจักรวาล พากันมาสโมสรประชุมกันเป็นอันมาก เพื่อจะฟังซึ่งข้อมงคลปัญหา

    ทั้งเทพยดาในฉกามาและท้าวมหาพรหมมาประชุมกันในห้องจักรวาล ยัดเยียดเบียดซงกันและกันเป็นอันมาก ในที่ประมาณเท่าปลายแห่งขนทราย เทพยดาทั้งหลายก็อยู่ได้ ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพื่อจะฟังซึ่งข้อมงคลจึงเกลื่อนกล่นกันมา ครั้งนั้น อัญญะตะราเทพยดาจึงทูลถามซึ่งข้อมงคลเป็นคาถาว่า พะหูเทวามะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง เป็นต้น ข้าแต่พระทศพลผู้ทรงคุณอันประเสริฐ มนุษย์และเทพยดาทั้งหลายพากันคิดซึ่งข้อมงคล ปราถนาซึ่งความเจริญสุขในโลกนี้และโลกหน้า ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาตรัสเทศนาซึ่งข้อมงคล ความเจริญผลสุขสวัสดิ์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเถิด พระพุทธเจ้าข้า

    อะถะโข ภะคะวา ครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันงามอาศัยซึ่งเทพยดาทูลถามมงคลปัญหา พระองค์ทรงพระกรุณาตรัสเทศนาซึ่งข้อมงคล ๓๘ ประการ ด้วยพระคาถาว่า อะเสวะนา จะ พาลานัง เป็นต้นว่า ดูก่อนเทพยดา สัตว์ทั้งหลายผู้มีความปราถนาหาความสุขความเจริญในโลกนี้ก็ดี ในโลกหน้าก็ดี ...
    อ่านข้ออธิบายขยายความแห่งมงคลต่าง ๆ แต่ละหัวข้อในส่วนข้างล่างนี้..

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป