มงคลที่ ๓๐
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
การสนทนาธรรมตามกาล เป็นอุดมมงคล

    กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา นามะ จะตุปะริสา ปะริยาปุณาติ ธัมมัญจะ วินะยัง จะ ปัญญัตตัง สัตถารา กาเลนะ ภาสิตันติ.

    บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๓๐ ตามบาลีและอรรถกถาว่า กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา แปลว่า บริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ๑ ภิกษุณี ๑ อุบาสก ๑ อุบาสิกา ๑ บริษัททั้ง ๔ นี้ มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้เล่าเรียนศึกษาซึ่งพระธรรมและพระวินัย ที่พระบรมศาสดาทรงบัญยัติแต่งตั้งไว้

    เมื่อเล่าเรียนศึกษาได้แล้ว ก็พากันมาพูดจาสู่กันฟังในท่ามกลางหมู่บริษัทที่ประชุมนั้น ด้วยธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ในเวลากลางวันและกลางคืนเป็นต้น เีรียกว่า กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เป็นมงคลอันประเสริฐ

    การสนทนาธรรมตามกาลเป็นอุดมมงคล ในเรื่องนี้ท่านกล่าวว่า ภิกษุผู้   ทรงพระสูตร ๒ รูปสนทนาพระสูตรกัน ภิกษุ ๒ รูปผู้ทรงพระวินัย สนทนาพระวินัยกัน ภิกษุ ๒ รูปผู้ทรงพระอภิธรรม   สนทนาพระอภิธรรมกัน ภิกษุผู้กล่าวชาดก สนทนาชาดกกัน ภิกษุผู้สนใจศึกษาอรรถกถา ก็สนทนาอรรถกถากัน   เพื่อชำระจิตที่ถูกความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน หรือความสงสัยครอบงำ ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาย่ำรุ่ง การสนทนา   ธรรมตามกาล ตามเวลา อย่างนี้ชื่อว่า การสนทนาธรรมตามกาล ก็การสนทนาธรรมตามกาลนี้ นอกจากจะช่วย   บรรเทาความหดหู่ ฟุ้งซ่าน ความสงสัย เป็นต้นแล้ว ยังเป็นเหตุให้ได้รับคุณทั้งหลายมีความฉลาดในปริยัติธรรม เป็นต้น

    ผู้ที่สนทนาธรรมตามกาลย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการคือ
   ๑. เป็นที่ยกย่องของพระศาสดา
   ๒. ย่อมเข้าใจเนื้อความของธรรมนั้นๆ
   ๓. ย่อมแทงตลอดเนื้อความอันลึกซึ้งด้วยปัญญา
   ๔. ย่อมได้รับคำสรรเสริญจากเพื่อนพรหมจรรย์
   ๕. ย่อมปรารภความเพียร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่แจ้ง สำหรับผู้ที่จบกิจพรหมจรรย์ ย่อม

    ประกอบธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน (คือเข้าฌานหรือผลสมาบัติ ) ด้วยเหตุนี้การสนทนาธรรมตามกาลจึงเป็นอุดมมงคล

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป