มงคลที่ ๑๒
ปุตตะสังโห เอตัมมังคะละมุตตะมัง
การสงเคราะห์บุตรธิดา เป็นอุดมมงคล

   บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๑๒ ตามพระบาลีอรรถกถาว่า ปุตตะสังคะโห นามะ แปลว่า บุคคลผู้ใดมีความสงเคราะห์ฺแก่บุตรหญิงชายทั้งหลายด้วยอามิสและปฎิบัติ จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ

   ถามว่า บุตรทั้งหลายมีเท่าไร แก้ว่า บุตรทั้งหลายนี้มี ๓ คือ อภิชาตบุตร ๑ อนุชาตบุตร ๑ อวชาตบุตร ๑ เป็น ๓ ดังนี้

   อภิชาตบุตรนั้น ได้แก่บุตรหญิงชายทั้งหลายที่มีอุปนิสัยแก่กล้ายิ่งกว่าบิดามารดา ด้วยศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ และเชื่อในทาน ศีล ภาวนา เชื่อในการบูชาและฟังธรรม ๑ มีศีล ๕ ศีล ๘ กรรมบถ ๑๐ ยิ่งกว่าบิดามารดา ๑ มีสุตตะ การฟังธรรมเทศนายิ่งกว่าบิดามารดา ๑ จาคะ ๑ มีความบริจากทานข้าวน้ำและผ้าผ่อนเป็นต้น ยิ่งกว่าบิดามารดา ๑ มีปัญญาความรู้พิจารณารู้ในทางโลกและทางธรรมยิ่งกว่าบิดามารดา ๑ บุตรทั้งหลายมีองค์ ๕ ยิ่งกว่าบิดามารดา ท่านเรียกว่าอภิชาตบุตร บุตรยิ่งกว่าบิดามารดา ฯ

   ที่ ๒ อนุชาตบุตรนั้น ได้แก่บุตรหญิงชายที่เกิดมามีศรัทธา มีสุตะ จาคะ ปัญญา เสมอกับบิดามารดาไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ มารดาบิดามีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา บุตรหญิงชายทั้งหลายก็มีเสมอกัน ท่านเรียกว่า อนุชาตบุตร บุตรประพฤติตามบิดามารดา ฯ

   ที่ ๓ อวชาตบุตร บุตรต่ำช้ากว่าบิดามารดาเป็นคนพาลว่ายากสอนยาก เป็นคนมักมากไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ดำรงตั้งมั่นอยู่ในศรัทธาศีลทานการภาวนา และฟังธรรมเทศนาเป็นคนหนาไปด้วยความโลภเจตนา ลักฉ้อล่อลวงเอาของที่เขาหวงมาเป็นของตน เป็นคนโทโสโกรธตีด่าบิดามารดาพี่หญิงพี่ชาย หยาบคายต่อผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นบุตรนอกพ่อนอกแม่ ไม่ตั้งอยู่ในโอวาทของมารดาบิดา บุตรเป็นพาลไม่ประพฤติตามบิดามารดาของตน ฯ

   ยังมีบุตรอีก ๓ จำพวก คือ อัตตวาสิกบุตร บุตรที่ขอเล่าเรียนศึกษาวิชาความรู้ของตน ๆ เป็นอาจารย์บอกความรู้ให้ ๑ ทินนกบุตร บุตรที่ขอมาเลี้ยงหรือบุตรเขาให้มาด้วยความชื่นตาชื่นใจ หรือบุตรที่ซื่อมาด้วยทรัพย์ ๑ อัตตรชบุตร บุตรที่บังเกิดแต่ตนเองด้วยความเสพสังวาสตามประเพณี ๑ ฯ

   บัดนี้จักว่าด้วยการสงเคราะห์บุตรหญิงชายด้วยอามิสก่อน บิดามารดาเลี้ยงบุตรหญิงชายมาด้วยจิตเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๔ ประการ ครั้นบุตรหญิงชายเจริญวัยใหญ่ขึ้นมา บิดามารดาควรสงเคราะห์ด้วยให้อามิส และข้อปฎิบัติ คือให้โอวาทคำสั่งสอนในทางโลกและทางธรรมทั้ง ๒ ประการ

   สงเคราะห์ด้วยอามิสนั้น ตั้งแต่ป้อนข้าวอาบน้ำ หาของเคี้ยวของกัดให้แก่บุตรหญิงชายบริโภค และหาของเล่นมีรูปวัวควายเป็นต้น และหาเสื้อผ้าเครื่องประดับกาย มีกำไลเสมาและต่างหูเป็นต้น ให้แก่บุตรหญิงชายของตน จนถึงหาสามีภรรยา ให้ทรัพย์เงินตราทาสี ทาสา สวนนาเป็นที่สุด

    แต่ในสิงคาลกสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาแก่สิงคาลมาณพว่า คะหะปะติปุตตะ ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาควรจะสงเคราะห์บุตรหญิงชายด้วยองค์ ๕ คือ ปาปา นิวาเรนติ บิดามารดาจงห้ามเสียซึ่งบุตรหญิงชายทั้งหลายอย่าให้กระทำบาปต่าง ๆ มีฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตและลักทรัพย์เป็นต้น ๑ กัลละยาเณ นิวาเสนติ บิดามารดาจงชักชวนบุตรชายหญิงให้กระทำการกุศล มีให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาฟังธรรมเป็นต้น ๑

    สิปปัง สิกขาเปนติ บิดามารดาจงยังบุตรหญิงชายให้เล่าเรียนศึกษาศีลปวิทยา ความฉลาดในทางโลกทางธรรม ๑ ปฎิรูเปนะ สังโยเชนติ บิดามารดาจงหาสามีภรรยาที่สมควรแก่ตระกูลและทรัพย์ ใ้ห้แก่บุตรหญิงชายตามประเพณีคดีโลก ๑ สะมะเยทายัชชัง นิยาเทนติ บิดามารดาควรมอบทรัพย์ให้แก่บุตรหญิงชายตามกาลตามสมัยที่จะพึงให้ คือ ให้เมื่อกระทำการมงคลมีโกนจุกและมีสามีภรรยาเป็นที่สุด ๑

   อนึ่ง บิดามารดาควรจะให้ทรัพย์แก่บุตรหญิงชายเป็น ๒ อย่าง คือ ให้ตามกาลตามสมัย ๑ ให้เป็นนิตยกาลไม่มีกำหนด ๑ เมื่อมารดาบิดาสงเคราะห์แก่บุตรหญิงชายพร้อมด้วยองค์ ๒ องค์ ๕ ดังนี้แล้ว กุลบุตรหญิงชายควรจะอุปัฏฐากบิดามารดา ให้พร้อมด้วยองค์ ๕ นี้ ดังพรรณนามาแต่หนหลังนั้นเิถิด

   อนึ่งการสงเคราะห์แก่บุตรชายหญิง เป็นประเพณีของพระอริยเจ้ากระทำมา เหมือนดังอนาถบิณฑิกะองค์พระโสดาบัน ก็ได้ทำการสงเคราะห์แก่บุตรในทางกุศล...

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป