มงคลที่ ๘
สิปปัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
ความฉลาดในหัตกกรรม เป็นอุดมมงคล

   บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๘ สืบต่อไป ตามพระบาลี อรรถกถาดำเนินความว่า สิปปัง นามะ อะนาคาริยะวะเสนะ เป็นต้น สิปปะ แปลว่า ความฉลาดในกานทำการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยมือ ก็ลักษณะสิปปะนี้ มี ๒ ประการ คือ อนาคาริยสิปปะ ๑ อาคาริยสิปปะ ๑

   อาคาริยสิปปะนั้น ได้แก่ ศีลปะ ความฉลาดของฆราวาส อนาคาริยสิปปะนั้น ได้แก่ความฉลาดของ บรรพชิต ความฉลาดของบรรพชิตนั้น คือ ฉลาดในการตัดจีวรและเย็บจีวร ย่อมจีวรเป็นต้น ( เช่น พระอานนท์เถระเจ้าได้รับพระพุทธฏีกาตัดเย็บจีวรได้เหมือนกระทงนาของชาวมคธ)

   ตามเพศสมณะศากยบุตรในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า อนาคาริยสิิปปะ ความฉลาดของบรรพชิต สมกับพระบาลีที่พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายในสัตตมสูตร ทสกังคุดรว่า อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้มีความฉลาดในกิจต่าง ๆ ทางบรรพชิต พึงกระทำซึ่งกิจน้อยและกิจใหญ่ในพระพระพุทธศาสนา

   กิจน้อยนั้น คือ อาคันตุกกิจ กิจที่จะรับอาคันตุกภิกษุที่มาสู่อาวาส และส่งภิกษุไปในอาวาส และปฎิบัติอุปัชฌาย์อาจารย์ กวาดลานพระอุโบสถและลานพระเจดีย์ และไม้ศรีมหาโพธิ์ และอาวาสเป็นต้น

    กิจใหญ่นั้น คือ จัดจีวร เย็บจีวร ย้อมจีวรเป็นต้น จนถึงปฎิสังขรณ์วัดอาวาสกุฎิวิหารที่ชำรุดให้ปกติถาวรเป็นที่สุด กิจทั้งสองนี้ เป็นกิจของภิกษุในพระพุทธศาสนาจะพึงกระทำ ถ้าภิกษุทำได้ดังนี้ จัดว่าเป็นภิกษุผู้ฉลาดในพระพุทธศาสนา ย่อมมีคุณแก่ตนและบุคคลอื่น จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ เพราะเหตุนั้น ความฉลาดในบรรพชิต เป็นกิจแห่งพระวินัย มีประโยชน์ใหญ่ในพระพุทธศาสนา

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป