มงคลที่ ๓๒
พรหมะจะริยัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
ความประพฤติธรรมอันประเสริฐ เป็นอุดมมงคล

    พรหมมะจะริยัง นามะ ทานะเวยยาวัจจะปัญจะสิละอัปปะมัญญา เมถุนะ วิระติ สันโต วิริยะอุโปสะถังถังคะริยะมัคคะสาสะวะนะวะเสนะ ทะสะวิธัง โหตีติ.

    บัดนี้ จักได้วิสัชนาในมงคลที่ ๓๒ ตามพระบาลี อรรถกถาว่า พรหมมะจะริยัง แปลว่า ความประพฤติอันประเสริฐ อธิบายว่า บุคคลใดเป็นผู้ประพฤติตนให้เป็นคนประเสริฐ เรียกว่า พรหหมจรรย์ บุคคลพระพฤติพรหมจรรย์ เป็นมงคลอันประเสริฐ

    พรหมจรรย์มี ๑๐ อย่าง คือ การให้ข้าวน้ำเป็นต้นนั้น คือ ให้ตามกาลหรือเป็นให้เป็นนิตย์แก่มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉาน หรือให้เมื่อบริโภคอาหารแก่มนษย์และสัตว์ดิรัจฉาน ในน้ำบนบกเป็นปกติ จัดเป็นพรหมจรรย์ ๑

    รักษาศีล ๕ คือ ไม่ฆ่าสัตว์เป็นให้ตาย และไม่ใช่ให้ผู้ใดผู้็้หนึ่งฆ่า ๑ ไม่ลักไม่ฉ้อข้าวของที่เขารักษาและไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักฉ้อ ๑ ไม่ล่วงประเวณีในสตรีที่เขาหวง ๑ ไม่พูดปดล่อลวงอำพรางผู้อื่น ๑ ไม่ดื่มกินน้ำเมา คือสุราเมรัย ๑ การงดเว้นบาปทั้ง ๕ จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๒

    การช่วยทำกุศลของบุุคลอื่นด้วยความแช่มชื่นโสมนัส จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๓

    การเจริญเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา ไม่โกรธ ไม่พยาบาทแช่งด่า ไม่เบียดเบียนให้สัตว์ได้รับความลำบาก จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๔ ไม่เสพเมถุนด้วยกามราคะ ความกำหนัดยินดีด้วยสามีภรรยา จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๕

    ความสันโดษมักน้อยในวัตถุกาม คือ ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ และกิเลสกาม รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ย่อมมีผัวเดียวเมียเดียวไม่มีสอง จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๖

    เป็นผู้มีความเพียรกล้าแข็ง ไม่ย่อท้อต่อกองการกุศลต่าง ๆ ว่ายากลำบากมีหนาวและมีร้อนเป็นต้น จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๗

    การรักษาอุโบสถศีลวันขึ้น ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ จัดเป็นพรหมจรรย์ที่ ๘

    ปัญญาพิจารณาเห็นในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์สัจจะ ๑ สมุทัยสัจจะ ๑ นิโรธสัจจะ ๑ มรรคสัจจะ ๑ เรียกว่า มรรคพรหมจรรย์ที่ ๙

    ธรรมข้อปฎิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ศาสนาพรหมจรรย์ที่ ๑๐ พรหมจรรย์ทั้ง ๑๐ นี้ บุคคลใดยินดีรักษาได้แต่อันใดอันหนึ่งแล้ว ย่อมจะเป็นที่พึ่งของบุคคลผู้นั้นในทางสวรรค์และทางพระนิพพาน จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ เป็นบ่อเกิดแห่งบุญสัมปทา ด้วยสมเด็จพระศาสดาทรงตรัสเทศนาในเมถุนวิรัติ การละเว้นเสพเมถุนว่า ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดละเสียซึ่งเมถุนสังวาสด้วยอำนาจแห่งฌานโลกีย์ ไม่ให้ราคะความกำหนัดครอบงำในสันดาน ครั้นทำลายสังขารก็ได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกแล้ว ลงมาเกิดเป็นมนุษย์จะมีจิตอันบริสุทธิ์ไม่ยินดี ในเมถุนสังวาสด้วยอำนาจทาน ดังวัตถุนิทานเรื่องปิปผลิกับนางภัททกาปิลานี และเรื่องภิกษุ ๖๐ รูป เป็นต้น...

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป