มงคลที่ ๓๓
อะริยะสัจจานะทัสสะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
การเห็นอริยสัจ เป็นอุดมมงคล

    อะริยะสัจจานะทัสสะนัง ทุกขัง ทุกขะสะมุทะโย ทุกขะนิโรโธ ทุุกขะนิโรธะคามินีปะฎิปะทาอะริยะสัจจันตีติ.

    บัดนี้ จักวิสัชนาในอริยสัจทั้ง ๔ จัดเป็นมงคลที่ ๓๓ ตามวาระ พระบาลี อรรถกถาว่า อะริยะสัจจานะทัสสะนัง แปลว่า ธรรมชาติอันใดที่เป็นของจริงแท้ย่อมไม่แปรผัน ธรรมชาตินั้นเรียกว่าอริยสัจ

    บุคคลใดมีปัญญาพิจารณาเห็นอริยสัจของจริงทั้ง ๔ นี้แล้ว จัดเป็นมงคลอันประเสริฐ อริยสัจทั้ง ๔ นั้น คือ ทุกขสัจจะ ๑ สะมุทะยะสัจจะ ๑ นิโรธะสัจจะ ๑ มัคคะสัจจะ ๑ เป็น ๔ ดังนี้

    ทุกขสัจนั้นได้แก่ชาติความเกิดเป็นรูปนาม ในกำเนิด ๔ คติ ๕ คือ มีขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ กำเนิด ๔ ธาตุ ๖ อินทรีย์ ๖ กำเนิด ๔ คือ เกิดด้วยอสุจิของบิดามารดา ๑ เกิดในฟองไข่ ๑ เกิดด้วยเหงื่อไคล ๑ ลอยไปเกิด ๑ คติ ๕ ในนรก ๑ เปรต ๑ สัตว์ดิรัจฉาน ๑ มุนษย์ ๑ เทวดา ๑ เรียกว่าชาติทุกข์ ชราทุกข์นั้น คือ ความแก่ชำรุดทรุดโทรมไปแห่งรูปนาม ๑

    พยาธิทุกข์นั้น คือ ความเจ็บไข้ที่เบียดเบียนรูปนาม ๑ มรณะทุกข์นั้น คือ ความแตกดับทำลายแห่งรูปนาม ๑ ความโศกร่ำไร ความเหือดแห้งใจ ความปราถนาสิ่งใดไม่ได้สมความปรารถนา หรือได้มาแล้วรักษาไว้ไม่ได้ หรือความระคนปนอยู่ด้วยของที่ไม่รักใคร่

    ว่าโดยสังเขปขันธ์ ๕ ที่ว่านี้เรียกว่าทุกขสัจ พระโยคาวจรผู้มีปัญญา พึงพิจารณากองทุกข์เป็นอารมณ์อยู่แล้ว ก็จะได้สำเร็จซึ่งมรรคและผล ยกตนให้พ้นจากอวิชชาตัญหา จึงจะชักนิทานมาให้เห็นเป็นตัวอย่างเช่นเรื่องภิกษุเรียนกรรมฐาน เรื่องพระเจ้ามันธาตุราชและเรื่องสรดาบส ฯลฯ เป็นต้น...

            ย้อนกลับ         ปิดหน้านี้         ถัดไป