พระสูตรความย่อ ทิฏฐิกถา
ว่าด้วย ทิฏฐิ ที่มา: พระไตรปีฎกภาษาไทย ฉบับหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่ม ๓๑ ข้อ ๒๙๔ - ๓๖๑ หน้า ๑๐๗ - ๑๓๐

ทิฏฐิ และ สิ่งที่เข้าไปยึดถือผิด
      ทิฏฐิ คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
     สิ่งที่เข้าไปยึดถือผิดว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

      ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
      รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
     จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
     จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
      รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธรรมสัญญา
      รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพะสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา
      รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพะตัณหา ธรรมตัณหา
     รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพะวิตก ธรรมวิตก
      รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพะวิจาร ธรรมวิจาร
     ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
     ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ
     ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม ห้วใจ ตับ พังผืด ไต ฯลฯ น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมอง ศีรษะ
     จักขายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ
     จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
     จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

         กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ
      กามภพ รูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ
      ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
      เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเปกขาเจโตวิมุติ
      อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
      อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชราและมรณะ

อัสสาททิฏฐิ ๓๕
      อัสสาททิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดใน ความหลงไหลยินดี(อัสสาทะ)ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขโสมนัส

     จำแนกอัสสาททิฏฐิ ตามสิ่งที่หลงไหลยินดีได้เป็น ๓๕ ประการ คือ
      รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
      จักษุ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
      รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

      จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
      จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส
      จักษุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา
      อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ เป็นผู้ที่ไม่ควรคบ เพราะผู้นั้นมีทิฏฐิลามก
      บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีที่ไป ๒ อย่างคือ ตกนรก หรือเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
      การประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ตามทิฏฐิของผู้มีมิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมมีผลที่ไม่น่าปรารถนา มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เกิดความทุกข์ เพราะบุคคลผู้นั้นมีทิฏฐิลามก เปรียบเหมือนปลูกพืชที่มีรสขม ย่อมได้ผลเป็นของมีรสขม เพราะพืชนั้นมีพันธ์พืชเลวฉันใด บุคคลผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ก็ฉันนั้น
      สังโยชน์ที่เป็นทิฏฐิก็มี สังโยชน์ที่มิใช่ทิฏฐิก็มี สังโยชน์ที่เป็นทิฏฐิ ก็คือ สักกายทิฏฐิ และสีลัพพตปรามาส
      สังโยชน์ที่มิใช่ทิฏฐิ ก็คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อนุสัยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์

อัตตานุทิฏฐิในวิญญาณ
      - เห็นวิญญาณว่าเป็นตน บุคคลมีอัตตานุทิฏฐิเห็นวิญญาณว่าเป็นตน เพราะเห็นว่า จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหล่านี้ และ ตัวตนเรานั้น เป็นอันหนื่งอันเดียวกัน เปรียบเหมือนกับที่เห็นว่า เปลวไฟและแสงสว่างของไฟที่ลุกโพลงอยู่นั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๒๙]๑๑๗

      - เห็นตนว่ามีวิญญาณ บุคคลมีอัตตานุทิฏฐิเห็นตนว่ามีวิญญาณ เพราะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร นี้แหละเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ จึงเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือนต้นไม้นั้นมีเงาด้วยเงานี้ จึงเห็นต้นไม้ว่ามีเงา   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๐]๑๑๗

      - เห็นวิญญาณในตน บุคคลมีอัตตานุทิฏฐิเห็นวิญญาณในตน เพราะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร นี้แหละเป็นตัวตนของเรา แต่ในตัวตนนี้มีวิญญาณ จึงเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือน ในดอกไม้มีกลิ่นหอม จึงเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๑]๑๑๗

      - เห็นตนในวิญญาณ บุคคลมีอัตตานุทิฏฐิเห็นตนในวิญญาณ เพราะเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร นี้แหละเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้น มีอยู่ในวิญญาณนี้ จึงเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือนแก้วมณีมีอยู่ในขวด จึงเห็นแก้วมณีในขวด   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๒]๑๑๘

มิจฉาทิฏฐิ ๑๐
      มิจฉาทิฏฐิ คือ ความงมงายด้วยการยึดถือความเห็นที่ผิด
         จำแนกมิจฉาทิฏฐิ ตามความเห็นที่ผิด ได้เป็น ๑๐ ประการ คือ  
                ๑.ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
                ๒. ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล
                ๓. การเซ่นสรวงไม่มีผล
                ๔. ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี
                ๕. โลกนี้ไม่มี
                ๖. โลกหน้าไม่มี
                ๗. มารดาไม่มี
                ๘. บิดาไม่มี
                ๙. สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี
                ๑๐. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๓]๑๑๘

สักกายทิฏฐิ ๒๐
        ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟัง ไม่ได้เห็น ไม่รู้ในธรรมของพระอริยเจ้า ของสัปบุรุษ ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ซึ่งได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีขันธ์บ้าง เห็นขันธ์ในตนบ้าง เห็นตนในขันธ์บ้าง
        สักกายทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในการที่เห็น ขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ว่าเป็นตน ๑ เห็นตนว่ามีขันธ์นั้น ๑ เห็นขันธ์นั้นในตน ๑ เห็นตนในขันธ์นั้น ๑ รวมสักกายทิฏฐิจำแนกตามการเห็น ๔ อย่าง ในขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ได้ ๒๐
         [รายละเอียดสักกายทิฏฐิ ๒๐ แต่ละประการนั้น เหมือนกับ อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ ]   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๔]๑๑๘ - ๑๑๙

        

สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ ๑๕
        ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟัง ไม่ได้เห็น ไม่รู้ในธรรมของพระอริยเจ้า ของสัปบุรุษ ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ซึ่งได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า เห็นตนมีขันธ์บ้าง เห็นขันธ์ในตนบ้าง เห็นตนในขันธ์บ้าง
         สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในการที่เห็น ขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ว่า เห็นตนว่ามีขันธ์นั้น ๑ เห็นขันธ์นั้นในตน ๑ เห็นตนในขันธ์นั้น ๑ รวมสัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ จำแนกตามการเห็น ๓ อย่างในขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ได้ ๑๕
      [รายละเอียด สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ ๑๕ แต่ละประการนั้น เหมือนกับ อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ เว้นหัวข้อเห็นขันธ์ว่า เป็นตน]   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๕]๑๑๙

อุทเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ ๑๕
        ปุถุชนผู้ไม่ได้ฟัง ไม่ได้เห็น ไม่รู้ในธรรมของพระอริยเจ้า ของสัปบุรุษ ย่อม เห็นขันธ์ ๕ แต่ละอย่าง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตน
         อุทเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ ๕ คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในการที่เห็น ขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ว่าเป็นตน [รายละเอียด อุทเฉททิฏฐิอันมีสักกายทิฏฐิเป็นวัตถุ ๕ แต่ละประการนั้น เหมือนกับ อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ เฉพาะหัวข้อ เห็นขันธ์ว่าเป็นตนเท่านั้น]   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๖]๑๑๙ - ๑๒๐

อันตคาหิกทิฏฐิ ๕๐
         อันตคาหิกทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นอันเป็นที่สุด(ยุติ)ตายตัวว่า ทิฏฐินี้เท่านั้นจริง ทิฏฐิอื่นไม่จริง ใน ๑๐ ประการ คือ
                ๑. โลกเที่ยง
                ๒. โลกไม่เที่ยง
                ๓. โลกมีที่สุด
                ๔. โลกไม่มีที่สุด
                ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
                ๖. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น
                ๗. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก
                ๘. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก
                ๙. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี
                ๑๐. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๗]๑๒๐

         ใน ๑๐ ประการนั้น ได้จำแนกแต่ละประการออกไปตามขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ เว้นแต่ประการที่๓ กับที่๔ ได้จำแนกออกตามวัตถุในการเพ่งกสิน ๕ อย่างแต่ละอย่าง รวมเป็นอันตคาหิกทิฏฐิ ๕๐ คือ
         เห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละขันธ์
      - เป็นโลกและเป็นของเที่ยง
      - เป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๓๘ - ๓๓๙]๑๒๐

- เป็นชีพและเป็นสรีระ นั่นคือ ชีพและสรีระเป็นสิ่งเดียวกัน
      - เป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ นั่นคือ ชีพเป็นคนละอย่างกับสรีระ
      - ต้องตายเป็นธรรมดา แต่เมื่อตายแล้ว ย่อมคงอยู่หรือเกิดอีก
      - ต้องตายเป็นธรรมดา แต่เมื่อตายแล้ว ย่อมขาดสูญไม่เกิดอีก
     - ต้องตายเป็นธรรมดา แต่เมื่อตายแล้ว เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี
     - ต้องตายเป็นธรรมดา แต่เมื่อตายแล้ว เกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๔๒ - ๓๔๗]๑๒๔

         เพ่งกสินแต่ละอย่าง คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว แสงสว่าง
     - แผ่ไปเล็กน้อย เห็นว่า โลกนี้กลม มีที่สุด
      - แผ่ไปกว้างขวาง เห็นว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๔๐ - ๓๔๑]๑๒๑

ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘  
      ปุพพันตานุทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต ๑๘ ประการคือ
      สัสสตทิฏฐิ เห็นว่าตนและโลกเที่ยง ๔
      เอกัจจสัสสติกาทิฏฐิ เห็นว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง ๔
      อันตานันติกาทิฏฐิ เห็นว่าโลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ ๔
      อมราวิกเขปิกาทิฏฐิ เห็นซัดส่ายไม่ตายตัว ๔
      อธิจจสมุปันนิกาทิฏฐิ เห็นว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ๒   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๔๘]๑๒๔

อปรันตานุทิฏฐิ ๔๔
      อปรันตานุทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต ๔๔ ประการ คือ
      สัญญีวาททิฏฐิ เห็นว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา ๑๖
      อสัญญีวาททิฏฐิ เห็นว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา ๘
      เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฏฐิ เห็นว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ๘
      อุจเฉทวาททิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ ๗
      ทิฏฐิธรรมนิพพานวาททิฏฐิ เห็นว่านิพพานเป็นปัจจุบัน เป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ ๕   ที่มา: ทิฏฐิกถา๓๑[๓๔๙]๑๒๔ - ๑๒๕

สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑๘
      สังโยชนิกาทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นอันเป็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ ๑๘ ประการ คือ
      ทิฏฐิที่ไป ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิวิบัติ ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ทิฏฐิเป็นลูกศร ทิฏฐิเป็นสมภพ ทิฏฐิเป็นเครื่องกังวล ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกพัน ทิฏฐิเป็นเหว ทิฏฐิเป็นอนุสัย ทิฏฐิเป็นเหตุให้เดือดร้อน ทิฏฐิเป็นเหตุให้เร่าร้อน ทิฏฐิเป็นเครื่องร้อยกรอง ทิฏฐิเป็นเครื่องยึดมั่น ทิฏฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฏฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๐]๑๒๕

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑๘
     ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความสำคัญตนว่า สิ่งนั้นเป็นเรา ซึ่งได้แก่ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณ ๖ รวม ๑๘ คือ
     ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะภายใน ๖)
     รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (อายตนะภายนอก ๖)
     จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (วิญญาณ ๖)   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๑]๑๒๕

ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ๑๘
         ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความสำคัญตนว่า สิ่งนั้นของเรา ซึ่งได้แก่ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ และ วิญญาณ ๖ รวม ๑๘ คือ
               ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะภายใน ๖)
                รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ (อายตนะภายนอก ๖)
               จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ (วิญญาณ ๖)   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๒]๑๒๕

ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ๒๐
        ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นที่ว่าด้วย ตน ซึ่งได้แก่การที่เห็น ขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ว่าเป็นตน ๑ เห็น ตนว่ามีขันธ์นั้น ๑ เห็นขันธ์นั้นในตน ๑ เห็นตนในขันธ์นั้น ๑
                จำแนกทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ตามการเห็น ๔ อย่าง ในขันธ์ ๕ แต่ละขันธ์ ได้ ๒๐
                [รายละเอียดของทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ทั้ง ๒๐ นั้นเหมือนกับ   อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ ]   ที่มา: ทิฏฐิกถา๓๑[๓๕๓]๑๒๕ - ๑๒๖

ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ๘
        ทิฏฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก คือ ความงมงายด้วยการยึดถือผิด ในความเห็นว่าด้วยโลก ซี่งได้แก่การเห็นว่า โลกเที่ยงหรือไม่ โลกมีที่สุดหรือไม่ รวม ๘ ประการคือ
                ตนและโลกเที่ยง
                ตนและโลกไม่เที่ยง
                ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี
                ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้
                ตนและโลกมีที่สุด
                ตนและโลกไม่มีที่สุด
                ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี
                ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๔]๑๒๖

ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ
               ภวทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดด้วย ความติดอยู่
                วิภวทิฏฐิ คือความงมงายด้วยการยึดถือผิดด้วย ความแล่นเลยไป
                จำแนกทิฏฐิต่าง ๆ ตามที่จัดว่าเป็น ภวทิฏฐิ หรือ วิภวทิฏฐิ ได้ดังนี้ อัสสาททิฏฐิ ๓๕
                อัตตานุทิฏฐิ ๒๐
                มิจฉาทิฏฐิ ๑๐
                สักกายทิฏฐิ ๒๐
                สัสสตทิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑๕
                อุจเฉททิฏฐิอันมีสักกายะเป็นวัตถุ ๑๕
                อันตคาหิกทิฏฐิ ๕๐
                โลกเที่ยง ๕
                โลกไม่เที่ยง ๕
                โลกมีที่สุด ๕
                โลกไม่มีที่สุด ๕
                ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ๕
                ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ๕
                สัตว์ตายแล้ว เกิดอีก ๕
                สัตว์ตายแล้ว ไม่เกิดอีก ๕
                สัตว์ตายแล้ว เกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี ๕
                สัตว์ตายแล้ว เกิดอีกก็ไม่ใช่ ไม่เกิดอีกก็ไม่ใช่ ๕
                ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘
                อปรันตานุทิฏฐิ ๔๔
                สังโยชนิกาทิฏฐิ ๑๘
                ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเรา ๑๘
                ทิฏฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเรา ๑๘
                ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยอัตตวาทะ ๒๐
                ทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลกวาทะ ๘ เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
                เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นวิภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิทั้งหมด
                เป็นภวทิฏฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฏฐิ ๕
                เป็นภวทิฏฐิก็มี เป็นวิภวทิฏฐิก็มี
                ทิฏฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นอันตคาหิกทิฏฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฏฐิ เป็นภวทิฏฐิ เป็นวิภวทิฏฐิ
                ผู้ใดยึดถือทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ย่อมไม่บรรลุถึงความดับทุกข์
                ผู้ยึดถือทิฏฐิใด ย่อมมีสัญญาวิปริตเพราะทิฏฐินั้น   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๕]๑๒๖ - ๑๒๗

ผู้มีภวทิฏฐิ ผู้มีวิภวทิฏฐิ ผู้เห็นธรรม
     ผู้มีภวทิฏฐิ ย่อมติดอยู่ คือชอบที่จะบันเทิงอยู่ในภพ ไม่น้อมไปในธรรมเพื่อความดับภพ
      ผู้มีวิภวทิฏฐิย่อมแล่นเลยไป คือเกลียดชังภพ ไม่ต้องการภพ เห็นว่าตายแล้วสูญ
      ผู้เห็นธรรม ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามจริง ย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย และเพื่อดับความเป็นสัตว์
      ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และ ก้าวล่วงความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรม ตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุ นั้น กำหนดรู้ความเป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหา ในภพน้อยใหญ่ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มี แห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๖]๑๒๗ - ๑๒๘

ผู้มีทิฏฐิวิบัติ ผู้มีทิฏฐิสมบัติ
     ผู้มีทิฏฐิวิบัติ ๓ จำพวก คือ เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ บุคคลที่มีทิฏฐิผิด
      ผู้มีทิฏฐิสมบัติ ๓ จำพวก คือ พระตถาคต สาวกพระตถาคต บุคคลผู้มีทิฏฐิชอบ
     นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฏฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฏฐิสมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๗]๑๒๘

ทิฏฐิวิบัติ ๓ ทิฏฐิสมบัติ ๓
     ทิฏฐิวิบัติ ๓ คือ ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา ๑ นั่นเป็นเรา ๑ นั่นเป็นตัวตนของเรา ๑
      ทิฏฐิสมบัติ ๓ คือ ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ๑ นั่นไม่เป็นเรา ๑ นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ๑   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๘]๑๒๘

นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
     ทิฏฐิว่า นั่นของเรา ได้แก่ปุพพันตานุทิฏฐิ ๑๘ เป็นทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอดีต
     ทิฏฐิว่า นั่นเป็นเรา ได้แก่อปรันตานุทิฏฐิ ๔๔ เป็นทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ส่วนอนาคต
      ทิฏฐิว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา ได้แก่อัตตานุทิฏฐิ ๒๐ สักกายทิฏฐิ ๒๐ เป็นทิฏฐิเกี่ยวกับขันธ์ทั้งส่วนอดีต และอนาคต   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๕๙]๑๒๘ - ๑๒๙

บุคคล ๕ จำพวก
     บุคคล ๕ จำพวกที่เชื่อแน่ในธรรมนี้ คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพีชีโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑
      บุคคล ๕ จำพวกที่เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนึ้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐาคามีบุคคล ๑   ที่มา: ทิฏฐิกถา ๓๑[๓๖๐ - ๓๖๑]๑๒๙ - ๑๓๐