พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่วิสุทธิมรรค


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๒ หน้า ๑
สมาธินิเทศ

   จักวินิจฉัยในพิธีพระกรรมฐาน ตามคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค อิทานิ ยสฺมา เอวํ ธุตงฺคปิหรณสมฺปามทิเตหิ อปฺปิจฺฉตาทีหิคุเณหิ ปริโยธาเตหิ อิมสฺมึ สีเล ปติฏฺิเตน สีเล ปติฏาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยนฺติ วจนโต จิตฺตสีเสน นิทฺทิฏโ สมาทิ ภาเวตพฺโพ ฯ

   พระภิกษุในบวรพุทธศาสนา เมื่อประดิษฐานอยู่ในพระจตุปาริสุทธิ ศีล มีศีลอันผ่องแผ้วบริสุทธิ์ด้วยคุณราศีมีมักน้อยเป็นต้น อันตนให้บริบูรณ์ด้วยรักษาธุดงค์โดยนัยดังสำแดงในศีลนิเทศนั้นแล้วเบื้องหน้าแต่นั้น

   พึงจำเริญพระสมาธิที่สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ตรัสเทศนา ด้วยจิตเป็นประธานนั้นสืบต่อไป เหตุมีพระพุทธฎีกาไว้ว่า สีเล ปติฏาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ว่าสัตว์ประกอบไปด้วยไตร เหตุจะปฎิสนธิปัญญานั้น

   เมื่อตั้งอยู่ในศีลแล้วก็พึงจำเริญสมาธิจิต แลพระวิปัสสนาปัญญาแลพระสมาธิที่ทรงพระมหากรุณาตรัสเทศนานั้น ยังสังเขปอยู่แต่จะรู้นั้นสิยังรู้เป็นอันยากแล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงที่จะจำเริญภาวนานั้นเล่าดังฤๅแลกุลบุตรทั้งปวงจำเริญได้ อาศัยเหตุดังนั้น พระพุทธโฆษาจารย์เจ้า รู้รจนาคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค เมื่อจะสำแดงพระสมาธินั้น จึงตั้งข้อปุจฉาปัญญาไว้ในเบื้องบุรพภาคนั้นก่อน

   เพื่อจะสำแดงพระสมาธิให้พิสดาร กับทั้งนัยแห่งภาวนาวิธี ให้แจ้งแก่พระโยคาพจรกุลบุตรทั้งปวงในกาลบัดนี้ ฯ

   ในข้อปุจฉาปัญาหานั้นมี ๘ ข้อ ข้อเป็นปฐมนั้นว่าสิ่งดังฤๅได้ชื่อว่า สมาธิ ข้อเป็นคำรบ ๒ นั้นว่า เหตุดังฤๅจึงได้ชื่อว่าสมาธิ ข้อเป็นคำรบ ๓ นั้นว่า ลักษณะแลกิจแลผลแลอาสันนการณ์แห่งสมาธินั้นเป็นดังฤๅ ข้อคำรบ ๔ นั้นว่า สมาธิมีประมาณเท่าดังฤๅ ข้อคำรบ ๕ นั้นว่า สมาธิจะเศร้าหมองด้วยสิ่งดังฤๅ ข้อคำ ๖ นั้นว่า สมาธิจะบริสุทธิ์ด้วยสิ่งดังฤๅ ข้อคำรบ ๗ นั้นว่า พระโยคาพจรกุลบุตรจะจำเริญสมาธินั้นจะจำเริญดังฤๅ ข้อคำรบ ๘ นั้นว่า ดังฤๅจะเป็นอานิสงส์แห่งสมาธิ ตั้งปุจจาฉาฉะนี้แล ฯ

   จึงวิสัชนาว่า สมาธินี้มีประการเป็นอันมากมิใช่น้อย ถ้าจะแสดงให้สิ้นเชิงนั้นจะฟุ้งซ่านไป บมิได้สำเร็จประโยชน์ที่จะต้องประสงค์ เหตุดังนั้นสมาธิที่จะแสดงบัดนี้ จะยกขึ้นว่าแต่สมาธิที่สัมปยุตต์ด้วยกุศลจิตอย่างเดียว ในข้อปฐมปุจฉาว่า สิ่งดังฤๅได้ชื่อว่าสมาธินั้น วิสัชนาว่าสมาธินี้ใช่อื่นใช่ไกล ได้แก่เอกัคคตาเจตสิกที่มีกำลังกล้าบังเกิดพร้อมด้วยกุศลจิต แลข้อทุติยปุจฉาว่า สิ่งดังฤๅจึงได้ชื่อว่าสมาธินั้น วิสัชนาว่าเอกกัคคตาเจตสิกที่มีกำลังกล้าบังเกิดพร้อมด้วยกุศลจิต ได้นามบัญญัติชื่อว่าสมาธินั้นด้วยอรรถว่าตั้งจิตแลเจิตสิกทั้งปวงไว้ ให้แน่วแน่เป็นอันหนึ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว แลข้อตติยปุจฉาว่า ลักษณะแลกิจแลผลแลอันสันนการณ์แห่งสมาธิเป็นดังฤๅนั้น วิสัชนาว่าสมาธินั้น มีสภาวะบมิได้กำเริบเป็นลักษณะ มีกิริยาขจัดเสียซึ่งฟุ้งซ่านเป็นกิจ มีกิริยาอันตั้งจิตไว้ให้มั่น บมิได้หวาดหวั่นไหวเป็นผล

   มีความสุขอันติดในกายแลจิตเป็นอาสันนการณ์ อธิบายว่าสุขนั้นเหตุอันใกล้ที่จะให้บังเกิดสมาธิ แลข้อปุจฉาคำรบ ๔ ที่ว่า สมาธิมีประมาณเท่าดังฤๅนั้นวิสัชนาว่าพระสมาธินี้ ถ้าแสดงโดยเอกะนั้น มีประมาณ ๑ ด้วย สามารถลักษณะที่บมิได้กำเริบ พระสมาธินี้แม้ว่าจะจำแนกแจกออกไปโดยประเภทต่าง ๆ ก็ดี ที่จะพ้นจากลักษณะที่ไม่กำเริบนี้หามิได้เหตุฉะนี้

   เมื่อแสดงโดยลักษณะนั้น ท่านจึงรวมพระสมาธิทั้งปวงเข้าไว้เป็น ๑ แสดงในเอกะว่าสมาธิมีประการอันหนึ่งดังนี้ จึงวิสัชนาสืบต่อออกไปอีกเล่าว่า พระสมาธินั้นถ้าจะแสดงโดยทุกะต่างออกเป็น ๘ ด้วยสามารถทุกะทั้ง ๔ ในปฐมทุกะนั้นต่างออกเป็น ๒ คือ อุปจารสมาธิประการ ๑ อัปปนาสมาธิประการ ๑ ในทุติยทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือ เป็นโลกียสมาธิประการ ๑ เป็นโลกุตตรสมาธิประการ ๒ ในตติยทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือเป็นสมาธิประกอบไแด้วยปีติประการ ๑ เป็นสมาธิหาปีติมิได้กระการ ๑ ในจตุตถทุกะนั้นก็ต่างออกเป็น ๒ คือ เป็นสมาธิเกิดพร้อมด้วยอุเบกขาประการ ๑

   ถ้าแสดงโดยติกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๑๒ ด้วยสามารถติกะทั้ง ๔ ในปฐมติกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๓ คือ เป็นหีนสมาธิอย่างต่ำอย่างน้อยประการ ๑ มัชฌิมสมาธิอย่างมัธยมประการ ๑ ปณีตสมาธิอย่างยิ่งประการ ๑ ในทุติยติกะนั้นต่างออกเป็น ๓ คือ สมาธิประกอบวิตกวิจารประการ ๑ สมาธิหาวิตกบมิได้มีแต่วิจารนั้นประการ ๑ สมาธิปราศจากวิตกวิจารนั้นประการ ๑

   ในตติยติกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๓   คือ สมาธิกอปรไปด้วยปีติประการ ๑ สมาธิกอปรไปด้วยสุขประการ ๑ สมาธิกอปรไปด้วยอุเบกขาประการ ๑ ในจตุตถติกะนั้นต่างออกเป็น ๓  สามารถปริตตสมาธิ แลมหัคคตสมาธิแลอัปปมาณสมาธิ อธิบายว่าสมาธินั้นเป็นกามาพจรอย่าง ๑ เป็นรูปาพจรอย่าง ๑ เป็นโลกุตรอย่าง ๑   ถ้าจะแสดงโดยจตุกะนั้น

   สมาธิต่างออกเป็น ๒๔ ด้วยสามารถจตุกะ ๖ ในปฐมจตุกะนั้น ต่างออกเป็น ๔ คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยยากตรัสรู้ช้าอย่าง ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยยากตรัสรู้พลันนั้นอย่าง ๑   สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาสมาธิปฏิบัติได้ด้วยง่ายตรัสรู้ช้านั้นอย่าง ๑ สุขาฏิปทาทันธาขิปปภิญญาสมาธิ ปฏิบัติได้ด้วยง่ายตรัสรู้พลันนั้นอย่าง ๑  ในทุติยจตุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถปริตตปริตตารมณ์ คือ สมาธิมิได้ชำนาญ มิได้เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน แลอารมณ์มิได้จำเริญออก ๑  เป็นปริตตอัปปมาณารมณ์ คือ สมาธิมิได้ชำนาญ มิได้เป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน

   แลอารมณ์มิได้จำเริญออก ๑ เป็นอัปปมาณอัปปมาณอัปปณารมณ์ คือสมาธิอันชำนาญเป็นปัจจัยแก่ฌานเบื้องบน แลมีอารมณ์จำเริญออก ๑ ในตติยจุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถ   ปฐมฌาณ  ทุติยฌาน   ตติยฌาน  จตุตถฌาน   ที่จัดโดยจตุกนัย ในจตุตถจตุกะนั้นสมาธิต่างออกเป็น ๔ ด้วยสามารถเป็นหานภาคิยสมาธิ คือ สมาธินั้นโยคาพจรจำเริญได้แล้ว มีส่วนข้างจะเสื่อมสูญไปอย่าง ๑   เป็น ฐิติภาคิยสมาธิ   คือจำเริญได้อยู่เพียงใด มีส่วนใดที่จะตั้งอยู่เพียงนั้นบมิได้ยิ่งขึ้นไป แลบมิได้เสื่อมลงนั้นอย่าง ๑   เป็นวิเสสภาคิยสมาธิคือโยคาพจรจำเริญได้ มีส่วนข้างวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยลำดับแห่งฌานนั้นอย่าง ๑   เป็นนิพเพทภาคิยสมาธิ มีนิพพิทาญาณบังเกิดพร้อมให้เหนื่อยหน่ายจากสังขาร

   ธรรมนั้นอย่าง ๑ ใ นปัญจมจตุกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๔  ด้วยสามารถ เป็นกามาพจารสมาธิอย่าง ๑  รูปาพจารสมาธินั้นอย่าง ๑  อรูปาพจรสมาธิอย่าง ๑   โลกุตตรสมาธิอย่าง ๑  ในฉัฏฐมจตุกะนั้น สมาธิต่างออกเป็น ๔   ด้วยสามารถฉันหาธิปติสมาธิ กอปรไปด้วยความรักความปรารถนากล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑   วิริยาธิปติสมาธิกอปรไปด้วยความเพียรกล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑   จิตตาธิปติสมาธิมีกุศลจิตกล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑

   วิมังสาธิปติสมาธิกอปรไปด้วยปัญญากล้าเป็นหลักเป็นประธานนั้นอย่าง ๑ สิริสมาธิในจตุกะทั้ง ๖   นี้จึงเป็นสมาธิ ๒๔   อย่างด้วยกัน ถ้าจะแสดงโดยปัญจกะนั้น   สมาธิต่างออกเป็น ๕   ด้วยสามารถเป็นปฐมฌานสมาธิ   ทุติยฌานสมาธิ ตติยฌานสมาธิ จตุตถฌานสมาธิ ปัญจมฌานสมาธิ  แสดงเอกะ ๑  ทุกะ ๔  ติกะ ๔  จตุกะ ๖  ปัญจกะ ๑   จำแนกแจกออกซึ่งสมาธิ ๕๐ ทัศ

   วิสัชนาในข้อปุจฉาเป็นคำรบ ๕ ที่ว่าสมาธิมีประมาณเท่าดังฤๅนั้นเสร็จแล้ว จึงวิสัชนาในข้อปุจฉาคำรบ ๕ ที่ว่าสมาธิจะเศร้าหมองด้วยสิ่งดังฤๅนั้นต่อไปว่า สมาธิจะเศร้าหมองนั้น อาศัยแก่มีสัญญาแลมนสิการที่เกิดพร้อมด้วยความรัก ความปราถนา ในปัญจพิธกามคุณแล้วกาลใด สมาธิก็จะเศร้าหมองเสื่อมสูญไปในกาลนั้น

   แลข้อปุจฉาเป็นคำรบ ๖ ที่ว่าสมาธิจะบริสุทธิ์ด้วยสิ่งดังฤๅนั้น มีคำวิสัชนาว่า สมาธิจะบริสุทธิ์นั้น อาศัยแก่มีสัญญาแลมนสิการที่บมิได้ปราศจากวิตกตั้งอยู่ในภาวนาวิธี เป็นวิเสสภาคิยะแล้วกาลใด ก็เป็นปัจจัยให้สมาธิบริสุทธิ์ในกาลนั้น แลข้อปุจคำรบ ๗ ที่ว่าโยคาพจรจะจำเริญสมาธิ จะจำเริญเป็นดังฤๅนั้น

   วิสัชนาว่าพิธีที่จำเริญโลกุตตรสมาธินั้น สงเคราะห์เข้าในปัญญาภาวนา ในที่อันนี้จะประสงค์ว่าแต่พิธีที่จำเริญโลกิยสมาธิ เมื่อแรกจะจำเริญสมาธินั้น พระโยคาพจรกุลบุตรพึงชำระศีลแห่งให้บริสุทธิ์แล้วพึงตัดเสียซึ่งปลิโพธใหญ่น้อยทั้งปวงอย่าให้มีธุระกังวลอยู่ด้วยปลิโพธสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

   ปลิโพธอย่างใหญ่นั้นมีประเภท ๑๐ ประการ คืออาวาสปลิโพธกังวลอยู่ด้วยกุฎิวิหารที่อยู่ที่กินเอื้อเพื้ออาลัยบริบูรณ์ด้วยร่มไม้แลน้ำ มีภัตรได้ด้วยง่ายเป็นอาทินั้นประการ ๑ กุลปลีโพธ กังวลอยู่ด้วยตระกูลญาติ แลตระกูลโยมอุปัฏฐากร่วมสุขทุกข์ด้วยบุคคลในตระกูลนั้นประการ ๑ ลาภปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยลาภสักการ คือทายกนำเอาจตุปัจจัยทานมาถวายเนือง ๆ ต้องเป็นธุระที่จะกระทำอนุโมทนาทานแลแสวงพระธรรมเทศนาหาโอกาส ที่จะจำเริญสมณธรรมบมิได้ประการ ๑

   คณปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยหมู่ด้วยคณะเป็นธุระที่จะบอกบาลีแลอรรถกถา หาว่างที่จะจำเริญสมณธรรมบมิได้ประการ ๑ กัมมปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยกระทำนวกรรมเอาใจใส่ในสิ่งของอันช่างไม้เป็นต้นได้แลบมิได้ เอาใจใส่ในการที่กระทำดีแลกระทำชั่วนั้นประการ ๑ อัทธานปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยเดินทางไกล เป็นต้นว่าจะไปบวชกุลบุตรในที่ไกลประการ ๑ ญาติปลิโพธ กังวลอยู่ด้วย มารดาบิดาพี่ชายน้องหญิง อุปัชฌาย์อาจารย์ สิทธิวิหารรีกแลอันเตวาสิกที่ป่วยที่ไข้ประการ ๑

   อาพาธปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยรักษาโรคในกายแห่งตนประการ ๑ คันถปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยเล่าเรียนสังวัธยายปริยัติธรรมเป็นนิตย์นั้นประการ ๑ อิทธิปลิโพธ กังวลอยู่ด้วยจะจำเริญฤทธิ์รักษาฤทธิ์นั้นประการ ๑ สิริเป็นปลิโพธใหญ่ ๑๐ ประการด้วยกัน แลกิริยาที่จะจำเริญฤทธิ์รักษานั้น เป็นปลิโพธแห่งสมาธิวิปัสสมาธิสิ่งเดียว จะได้เป็นปลิโพธแห่งสมาธิภาวนาหาบมิได้ เพราะเหตุว่าโยคาพจรเจ้าจะได้สำเร็จฤทธิ์แล้ว ย่อมได้ด้วยอำนาจจำเริญสมาธิภาวนาว่า อุปจฺฉินทิตฺวา พระโยคาพจรผู้จะบำเพ็ญสมาธิภาวนานั้น เมื่อตัดปลิโพธอันใหญ่เสียได้แล้ว ยังแต่ปลิโพธน้อย ๆ คือผมยาวเล็บยาว บาตรเป็นสนิมจีวรเหม็นสาบนั้นก็พึงชำระเสียให้สิ้น พึงปลงผมตัดเล็บรมบาตรซักจีวร ปลดเปลี้องขุททกปลิโพธเสียให้สิ้นแล้ว ก็พึงไปสำนักอาศัยอยู่ในอาวาสเป็นที่สบายสมควรแก่สมาธิภาวนา

   อย่าอยู่ในอันวิหารอันบมิได้สมควรจะอยู่ ๑๙ อย่าง มหตฺตํ วิหารใหญ่นั้น ๑ ชิณฺณตํ ๑ คือวิหารเก่าคร่ำคร่านั้น ๑ นวตุตํ วิหารสร้างใหม่นั้น ๑ ปณฺฐสนฺนิสฺสิตตฺตํ วิหารอยู่ใกล้ทางนั้น ๑ โสณฺฑิ วิหารอยู่ใกล้ตระพังศิลานั้น ๑ ปณฺณํ วิหารอันกอปรด้วยใบไม้ควรจะบริโภค ๑ บุปฺผํ วิหารกอปรด้วยกอดอกไม้นั้น ๑ ผลํ วิหารกอปรด้วยดอกไม้มีผล ๑ ปนฺถนิยตา วิหารเป็นที่คนทั้งปวงปรารถนาที่จะไปมา ๑ นคสนฺนิสฺสิตฺตา วิหารอยู่ใกล้เมือง ๑

   ทารุสสนฺนิสสิตฺตา วิหารอยู่ใกล้ที่มีไม้ฟืน ๑ เขตฺตสนฺนิสสิตฺตา วิหารอยู่ใกล้ที่นา ๑ วิสภาคาน ปุคฺคลานํ อตฺถิตา วิหารที่มีวิสภาคบุคคลนั้น ๑ ปฏนสนฺนิสสิตตา วิหารอยู่ใกล้ท่าน้ำ ๑ ปจฺจนฺตนิสสิตฺตา วิหารอยู่ใกล้ปัจจันตชนบท ๑ รชฺชสีมนฺตรสนฺสสิตา วิหารอยู่ใกล้แดนพระนครแห่งพระนครทั้งปวง ๑ อสปฺปายตา วิหารอันมีได้สบายด้วยวิสสภาคารมณ์แลผี ๑ กลฺยาณมิตฺานํ อลาโภ วิหารอันมีได้ซึ่งกัลยาณมิตร ๑ ประสมเข้าเป็น ๑๘ ด้วยกัน วิหาร ๑๘ เห็นปานดังนี้ พึงละเสียอย่าอยู่

ต่อ  

  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::       :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com