พระวิสุทธิมรรค


 หน้าแรก
 สารบาญ เล่ม ๑
 สารบาญ เล่ม ๒
 สารบาญ เล่ม ๓

อารัมภกถา-พุทธโฆสุปัตติ
วิจารณ์
ศีลนิเทศ
ธุดงคนิเทศ
สมาธินิเทศ
กสิณ ๑๐
อสุภ ๑๐
อนุสสติ ๑๐
อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔
อรูปกัมมัฏฐาน ๔
อาหาเรปฏิกูลสัญญา
จตุธาตุววัตถาน



แผนที่ลาน


 พระไตรปิฎก
 ฉบับประชาชน
 ฉบับปฏิบัติ
 ลานพุทธศาสนา
 เสียงธรรม
 พจนานุกรมฉบับประมวลศัพท์
 ไทย-อังกฤษ
 อังกฤษ-ไทย
 ฉบับประมวลธรรม


  แวะเซ็นติชมหน่อยนะคะ



 
   เล่ม ๑ หน้า ๑๕

   “กถํ เอวํ สตฺตวิธเมถุนสํโยควเสน วุตฺตํ หิ ภควตา อิธ พฺราหฺม เอกจฺโจ สมโณวา พฺราหฺมโณ วา สมฺมา พฺรหฺมจารี ปฏิชานมโน น เหวโข มาตุคาเมน สทฺธึ ทฺวยสมาปตฺตึ สมาปชฺชติ อปิจโข มาตุคามสฺส อุจฺฉานํ ปริมทฺทนํ นหาปนํ สมฺพาหนํ สาทิยติ โส ตทสสาเทติ ตํ นิกาเมติ เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ อทํปิ โข พฺราหฺมณ พฺรหฺมจริยสฺส ขณฺฑมฺปิ ฉิทฺทมฺปิสพลมฺปิ กมฺมาสมฺปิ อยํ วุจฺจติ พฺราหฺมณ อปริสุทฺธํ พฺรหมจริยํ จรติ สํยุตฺโต เมถุนสํโยเคน น ปริมุจฺจติ ชาติยา ชรายมรเณน ฯลฯ”

   วาระนี้จะได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในเมถุนสังโยค ๗ ประการ อันมีในศีลนิเทศนี้ สืบอนุสนธิตามกระแสวาระพระบาลีมีเนื้อความเป็นปุจฉาถามว่า

   “กถํ เกน ปกาเรน” สภาวะมีศีลขาดเป็นต้นนั้น องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนา ประสงค์เอาด้วยเมถุนสังโยค ๗ ประการนั้น ด้วยประการดังฤๅ

   มีคำอาจารย์วิสัชนาว่าสภาวะมีศีลขาดเป็นต้น ที่องค์พระบรมศาสดาตรัสเทศนาประสงค์เอาด้วยเหตุแห่งเมถุุนสังโยค ๗ ประการนั้น นักปราชญ์พึงรู้โดยนัยที่เราจะแสดงนี้

   ๑. “วุตตํ หิ ภควตา” แท้จริงองค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนากับมหาพราหมณ์ ที่มาทูลถามซึ่งความปฏิบัติแห่งสมณะแลพราหมณ์ในโลกนี้ว่า “อิธ พฺราหฺมณ เอกจฺโจ” ดูกรพราหมณ์ สมณะ แลพราหมณ์จำพวกหนึ่งในโลกนี้ปฏิญาณตนว่า เป็นบุคคลประพฤติพรหมจรรย์ด้วยอาการอันดี “น เหวโข มาตุคาเมน สทฺธึ” สมณะแลพราหมณ์นั้น ไม่ยินดีอยู่เป็นคู่สองแลสองกับด้วยมาตุคามแต่ที่ว่ายินดีซึ่งอันอบสรีระแลนวดนั้น แลยังตนให้อาบแลลูบคลำแห่งมาตุคาม แลยิ่งดียิ่งนักและปรารถนาซึ่งอันอบสรีระเป็นอาทิแห่งมาตุคาม “อิทําปิโข พฺราหฺมณ” ดูกรพราหมณ์ความยินดียิ่งนักแล แลความปรารถนาซึ่งวัตถุมีอันอบซึ่งสรีระ เป็นอาทิแห่งมาตุคามนี้ชื่อว่าขาดชื่อว่าเป็นช่อง ชื่อว่าด่างชื่อว่าพร้อมแห่งพรหมจรรย์ของสมณะแลพราหมณ์นั้น “อยํ วุจฺจติ พฺราหฺมณ” ดูกรพราหมณ์สมณะ และพราหมณ์จำพวกนี้บุคคลที่มีปัญญาดำเนินด้วยญาณคติเหมือนตถาคตอย่างนี้ ร้องเรียกสมณะแลพราหมณ์จำพวกนี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ ไม่พ้นจากทุกข์ธรรมทั้งปวง

   ๒. “ปุน จ ปรํ” เหตุอันอื่นมีใหม่เล่า “อิเธกจฺโจ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา” ดูกรพราหมณ์ สมณะแลพราหมณ์ในโลกนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยอาการอันดี มิได้มีคู่อยู่กับจาตุคาม ใช่แต่เท่านั้นไม่ยินดีซึ่งอันอบสรีระแห่งมาตุคาม

   อนึ่งโสด สมณะแลพราหมณ์นั้นหัวเราะใหญ่ด้วยสามารถแห่งกิเลสเล่นด้วยสามารถกายสังสัคคะระคนกายแอบอิงกับด้วยมาตุคาม แลยินดีซึ่งแย้มหัวด้วยสามารถแห่งกิเลสเป็นอาิทิ กับด้วยมาตุคาม “อยํวุจฺจติ พฺราหฺหมณ” ดูกรพราหมณ์ สมณะแลพราหมณ์จำพวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นสมณะแลพราหมณ์ประพฤติพรหมจรรย์ มิได้บริสุทธิ์ประกอบด้วยเมถุน สังโยค มิได้พ้นจากชาิติทุกข์แลชราทุกข์ แลมรณทุกข์ แลมิพ้นจากทุกขธรรมทั้งปวง

   ๓. “ปุน จปรํ” เหตุอันอื่นยังมีใหม่เล่า ดูกรพราหมณ์ “อิเธกจฺโจสมโณ วา พฺราหฺมโณ วา” สมณะแลพราหมณ์จำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่ถึงพร้อมเป็นคู่อยู่กับด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีซึ่งอันอบสรีระแห่งมาตุคาม ไม่หัวเราะดังด้วยอำนาจแห่งกิเลส ไม่เล่นด้วยสามารถกายสังสัคคะระคนกับด้วยกาย ไม่หยอกเอินด้วยมาตุคามด้วยประการทั้งปวง

   อนึ่ง สมณะแลพราหมณ์นั้น เข้าไปใกล้มาตุคามด้วยจุกษุแห่งตน แลยินดีที่จะยังแห่งตนให้ตอบต่อมาตุคาม

   “อยํ วุจฺจติ พฺราหฺมณ” ดูกรพราหมณ์ สมณะแลพราหมณ์จำพวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นสมณะแลพราหมณ์ ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติทุกข์แลชราทุกข์แลมรณทุกข์ ไม่พ้นจากทุกข์ธรรมทั้งปวง

   ๔. “ปุน จ ปรํ” เหตุอันอื่นมีใหม่เล่า ดูกรพราหมณ์ “อิเธกจฺโจสมโณ วา พฺราหฺมโณ วา” สมณะแลพราหมณ์จำพวกหนึ่งไม่เข้าไปใกล้แล้วแลดูยิ่งนักซึ่งมาตุคามด้วยสามารถแห่งราคะ ไม่แลดูมาตุคามด้วยตาแห่งตน

   “อปิจโข มาตุคามสฺส” อันหนึ่งสมณะแลพราหมณ์นั้น ฟังซึ่งเสียงแห่งมาตุคาม ยินดีที่จะสดับฟังซึ่งเสียงแห่งหญิงอันหัวเราะแลกล่าวถ้อยคำแลมาขับแลร้องอยู่ในภายนอกฝาแลอยู่ในภายนอกกำแพง ดูกรพราหมณ์สมณะแลพราหมณ์ยินดีดังนี้แล้ว ก็ชื่อว่าขาดชื่อว่าทะลุชื่อว่าด่างชื่อว่าพร้อยแห่งพรหมจรรย์สมณะแลพราหมณ์จำพวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นสมณะแลพราหมณ์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยคไม่พ้นจากชาติทุกข์แลชราทุกข์ ไม่พ้นจากทุกขธรรมทั้งปวง

   ๕. “ปุน จ ปรํ” อันว่าเหตุอันอื่นมีใหม่เล่า ดูกรพราหมณ์ “อิเธกจฺโจ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา” สมณะแลพราหมณ์จำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่ถึงซึ่งเป็นคนคูอยู่เป็นสองด้วยมาตุคาม ไม่ยินดีซึ่งอันอบแห่งสรีระอันเป็นอาทิด้วยมาตุคาม ไม่หัวเราะใหญ่ด้วยสามารถแห่งกิเลส ไม่เล่นด้วยสามารถแห่งกายสังสัคคะระคนกับด้วยมาตุคาม ไม่เพ่งดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุแห่งตน ไม่ฟังเสียงแห่งมาตุคามอันหัวเราะเป็นอาทิในภายนอกฝาในภายนอกกำแพง ไม่ระลึกเนือง ๆ ซึ่งอันหัวเราะอันกล่่าวอันเล่นกับด้วยมาตุคาม

   ๖. “อปิจโข ปสฺสติ”” อนึ่งสมณะและพราหมณ์นั้น เห็นซึ่งคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดีอันอิ่มไปด้วยปัญญากามคุณ อันพร้อมเพรียงด้วยปัญจกามคุณ อันบุคคลทั้งหลายบำเรอด้วยปัญจกามคุณ ยินดีซึ่งกิริยาที่คฤหบดีและบุตรของคฤหบดี อันอิ่มไปด้วยปัญจวิธกามคุณนั้น พรหมจรรย์ของสมณะแลพราหมณ์จำพวกนี้ก็ขาดทะลุ ก็ด่างพร้อยไป “อยํวุจฺจติ พฺราหฺมณ” ดูกรพราหมณ์ สมณะและพราหมณ์จำพวกนี้ตถาคตร้องเรียกว่า เป็นสมณะและพราหมณ์ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยคไม่พ้นจากชาติชราและมรณะ ไม่พ้นจากทุกขธรรมทั้งปวง

   ๗. “ปุน จ ปรํ” อันว่าเหตุอันอื่นมีใหม่เล่า ดูกรพราหมณ์ “อิเธกจฺโจ สมโณ วา พฺราหฺมโณ วา” สมณะและพราหมณ์จำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่ยินดีไม่ปรารถนา ไม่ถึงซึ่งความยินดีดังกล่าวแล้วในหนหลัง ไม่ดูคฤหบดีและบุตรคฤหบดี อันอิ่มไปด้วยกามคุณเป็นอาทิอันบุคคลบำเรออยู่ “อปิจโข อญฺญธรเทวนิกายํ”อนึ่ง สมณและพราหมณ์นั้นปรารถนาจะเป็นเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่ง จึงประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความปริวิตกว่าเราจะเป็นเทพยดาและเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยวัตรอันนี้ ประพฤติซึ่งธรรมอันบุคคลมิอาจประพฤติได้นี้ ด้วยพรหมจรรย์ประพฤติธรรมอันประเสริฐนี้ “โส ตทสฺสาเทติ” สมณะและพราหมณ์นั้นก็ยินดีและปรารถนาซึ่งการอันจะเป็นเทพยดานั้น และถึงซึ่งความยินดีด้วยกิริยาที่จะเป็นเทพยดานั้น “อิทํปิ พฺราหฺมณ พฺราหมจริยสฺส” ดูกรพราหมณ์สมณะและพราหมณ์ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยปริวิตกว่าจะเป็นเทพยดาดังนี้ ชื่อว่าขาดชื่อว่าทะลุทำลายชื่อว่าด่างพร้อยแห่งพรหมจรรย์

   บัณฑิตพึงรู้ว่า สภาวะมีขาดเป็นอาทิแห่งพรหมจรรย์ องค์สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าตรัสเทศนา ประสงค์เอาด้วยประเภทมีลาภเป็นต้น เป็นเหตุปัจจัย และเมถุนสังโยค ๗ ประการ ดังรัึบพระราชทานถวายวิสัชนา มาดังนี้

   “อขณฺฑทิภาโว ปน” อนึ่ง สภาวะที่มิได้ขาดเป็นอาทิแห่งพรหมจรรย์นั้น องค์สมเด็จพระูผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาประสงค์เอาด้วยมิได้ทำลายสิกขาบททั้งหลายทั้งปวง และการกระทำซึ่งเยียวยาสิกขาบทที่ทำลายแล้วจะกระทำคืนได้ด้วยเทศนาแสดงซึ่งอาบัติเป็นอาทิ และสภาวะหามิได้แห่งเมถุนสังโยค ๗ ประการ และมิได้บังเกิดขึ้นแห่งธรรมทั้งหลายอันลามกอันอื่นมีความโกรธและผูกเวรและลบหลู่คุณท่าน และถือเอาเป็นคู่และอิสสาอดกลั้น มิได้ซึ่งสมบัติแห่งบุคคลผู้อื่น และมัจฉริยะซ่อนไว้แห่งตน และมารยาปิดไว้ซึ่งโทษแห่งตน และสาไถยแสดงซึ่งคุณแห่งตนมิได้ และถัมภะมีจิตกระด้าง และสารัมภะกล่าวให้ยิ่งกว่าเหตุ และมานะและอติมานะ และมัวเมาแและประมาทเป็นอาทิ และทรงสงเคราะห์ด้วยอันบังเกิดขึ้นแห่งคุณทั้งหลาย มีอัปปิจฉตาคุณ ปรารถนาน้อยไม่มากนัก และสันตุฏฐิคุณ คือยินดีด้วยปัจจัยแห่งตน และสัลเลขคุณ กระทำให้เบาบางจากกิเลส เป็นต้น

   “ยานิ หิ สีลานิ” แท้จริง ศีลทั้งหลายใด มิได้ทำลายด้วยประโยชน์ลาภและยศเป็นอาทิ และทำลายด้วยโทษ คือประมาทแต่ทว่าเยียวยาได้เป็นศีลอันธรรมทั้งหลายเป็นบาป คือประกอบด้วยเมถุน และโกรธและผูกเวรเป็นต้นไม่จำกัดได้ “ตานิ สพฺพโส อขณฺฑาติ” ศีลทั้งหลายนั้น องค์พระตถาคตก็เรียกว่าไม่ขาด ไม่ทะลุทำลาย ไม่ด่างไม่พร้อย

   “ตานิ จ สีลานิ” อนึ่ง ศีลทั้งหลายนั้น ชื่อว่าเป็นไป เพราะเหตุกระทำไม่ให้เป็นทาสแห่งตัณหา เหตุศีลทั้งหลายอาศัยวิวัฏฏสมบัติคือจะให้สำเร็จแก่พระนิพพาน และชื่อว่าวิญญูปสัฏฐา เพราะเหตุอันพระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตรัสสรรเสริญ และชื่อว่าอปรามัฏฏศีลเพราะเหตุอันตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายมิได้ถือเอาศีลทั้งหลายนั้นย่อมจะยังอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิให้ประพฤติเป็นไป เหตุการณ์ดังนั้นจึงได้ชื่อว่ายังสมาธิให้ประพฤติเป็นไป เหตุใดเหตุดังนั้น สภาวะคือมิได้ขาดมิได้ทำลาย มิได้ด่าง มิได้พร้อย แห่งศีลทั้งหลายนั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์บัณฑิตพึงรู้ดังนี้

   อนึ่ง กิริยาที่บริสุทธิ์แห่งศีลสำเร็จด้วยอาการ ๒ ประการ คือเห็นโทษที่วิบัติจากศีลประการ ๑ คือเห็นซึ่งอานิสงส์แห่งบริบูรณ์ด้วยศีลประการ ๑ เป็น ๒ ประการด้วยกัน

   โทษแห่งวิบัติจากศีลนั้น นักปราชญ์พึงรู้โดยนัยแห่งพระสูตรที่องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาไว้ โดยนัยเป็นอาทิว่า “ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา” ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งวิบัติจากศีลแห่งบุคคลอันทุศีลมี ๕ ประการ

   นัยหนึ่ง “ทุสฺสีโล ปุคคโล” บุคคลที่้ไม่มีศีลนั้น ไม่เป็นที่รักแห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราเหตุว่าตนเป็นบุคคลไม่มีศีล และเป็นที่เกลียดชังแห่งสพรหมจารีทั้งปวง และถึงซึ่งความทุึกข์เพราะเหตุชนทั้งหลายติเตียนตนว่าเป็นบุคคลไม่มีศีล และจะบังเกิดวิปฏิสารเดือดร้อนกินแหนง ในกาลเมื่อชนทั้งหลายสรรเสริญซึ่งบุคคลอันมีศีล

   “ตาย จ ปน ทุสฺสีลตาย” อนึ่ง บุคคลที่ไม่มีศีลนั้น เป็นชนมีผิวสรีระอันชั่ว ดุจดังว่าผ้าสากฎกอันบุคคลทอด้วยป่าน เพราะเหตุไม่มีศีล

   อนึ่ง บุคคลทั้งหลายใดถึงซึ่งทิษฐานนุคติ ดูเยี่ยงดูอย่างปฏิบัติตามบุคคลที่ไม่มีศีลนั้น ทุกขสัมผัสถูกต้องอันจะนำมาซึ่งทุกข์ ก็จะบังเกิดมีแก่บุคคลทั้งหลายนั้น เพราะเหตุจะนำมาซึ่งอบายทุกข์สิ้นกาลช้านาน

   อนึ่ง บุคคลที่ไม่มีศีลนั้น ถือเอาซึ่งไทยธรรมวัตถุที่บุคคลพึงให้แก่ทายกทั้งหลายใด ไทยธรรมนั้นก็มีค่าน้อย เพราะเหตุไม่กระทำให้มีผลมากแก่ทายกทั้งหลายนั้น

   บุคคลที่ไม่มีศีลนั้น บัณฑิตชาติไม่อาจชำระให้บริสุทธิ์ได้ มีอุปมาดุจขุมคูถอันสั่งสมอยู่สิ้นปีเป็นอันมาก

   “อุภโต ปริพาหิโร” อนึ่ง บุคคลทุศีลนั้น เสื่อมจากคุณสมบัติทั้งสอง คือสมบัติอันเป็นของแห่งสมณะ และสมบัติอันเป็นของแห่งคฤหัสถ์มีอุปมาดุจดังว่าถ่านฟืน

   ใช่แต่เท่านั้น “ภิกฺขุภาวํ ปฏิชานนฺโตปิ” บุคคลที่ไม่มีศีลปฏิญาณตนว่าเป็นภิกษุ ก็มิได้เป็นภิกษุแท้จริง มีอุปมาดุจดังว่าลาอันติดตามซึ่งฝูงแห่งโค

   “สตฺตุพฺพิโต” สะดุ้งอยู่สิ้นกาลเป็นนิจ ดุจดังว่าบุรุษมีบุคคลทั้งปวงเป็นเวร

   “อํสวาสรโห” ไม่ควรแก่สังวาสแห่งสพรหมจรรย์ ดุจดังว่ากเฬวระ แห่งมนุษย์อันตายแล้ว

   ถึงว่าพระภิกษุเป็นบุคคลอันทุศีลนั้น จะประกอบด้วยคุณมีสดับพระพุทธวจนะเป็นต้น ก็ไม่สมควรที่จะกระทำสักการะบูชาแห่งพระภิกษุทั้งหลายอันเป็นสพรหมจรรย์ ดุจดังว่าสุสานประเทศป่าช้าไม่เป็นของควรจะบูชาแห่งพราหมณ์

   “อภพฺโพ วิเสสาคเม” ไม่ควรในการตรัสรู้ธรรมวิเศษเหมือนคนตาบอดไม่ควรในการแลเห็นรูป

   “นิราโส สทฺธมฺเม” ไม่มีความปรารถนาในปปัตฏิติธรรมและปฏิเวธธรรม ดุจดังว่ากุมารอันเกิดในตระกูลจัณฑาล อันมิได้มีความปรารถนาในราชสมบัติ

   อนึ่ง บุคคลเป็นภิกษุอันทุศีลนั้นสำคัญว่าเป็นสุข คือจะได้ซึ่งส่วนแห่งความทุกข์ อันองค์พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาในอัคคิขันธปริยายสูตร

   “หิ” ดังจะกล่าวโดยพิสดาร “ภควา” องค์สมเด็จพระผู้ทรงพระภาค ผู้มีพระพุทธญาณอันประจักษ์แจ้งผลแห่งกรรมด้วยอาการทั้งปวง “อติกกํ ทุกฺฏุขํ เทเสนฺโต” เมื่อพระองค์ทรงแสดงซึ่งความทุกข์อันเดือดร้อนยิ่งนัก อาจจะยังให้ร้อนในหฤทัยให้บังเกิดแล้ว และให้รากโลหิตอันร้อนประพฤติเป็นไปแก่ภิกษุทั้งหลายอันมิได้มีศีล มีจิตอันข้องอยู่ในความยินดีว่า มีสุขมีบริโภคปัญจกามคุณ และเป็นที่ไหว้ที่นับถือแห่งชนทั้งหลายเป็นอาทิ จึงตรัสถามพระภิกษุทั้งปวงว่า “ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย “ปสฺสถ โน ตุมฺเห” ดังเราจะขอถามท่านทั้งปวงแลเห็นกองเพลิงอันใหญ่นี้ อันไฟไหม้รุ่้งเรืองโดยรอบคอบมีประชุมเปลวอันบังเกิดแล้วแลหรือ

   พระภิกษุทั้งหลายก็รับพระพุทธบรรหารว่า “เอวํ ภนฺเต” ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งปวงได้เห็นแล้ว จึงตรัสว่า “ตํ กึ มญฺญถ” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งปวงจะสำคัญคำที่เราจะกล่าวในกาลบัดนี้นั้น เป็นดังฤๅ

   ดูกรพระภิกษุทั้งหลาย บุคคลจะเคล้าคลึงสวมกอดแล้ว และนั่งทับและนอนทับกองอัคคีอันใหญ่นี้ อันเพลิงไหม้รุ่งเรืองโดยรอบ มีประชุมเปลวอันบังเกิดแล้ว ด้วยเวทนาอันใดก็ดี อันหนึ่งบุคคลเคล้าคลึงสวมกอดนางขัตติยกัญญา และนางพราหมณ์กัญญา และนางคฤหบดีกัญญา แล้วนั่งใกล้นอนใกล้ ด้วยเวทนาอันใดก็ดี เวทนาทั้งสองนี้ข้อไหนจะประเสริฐกว่ากัน

   พระภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า “ภนฺเต” ข้าแต่พระผู้ทรงพระภาคผู้เจริญ บุคคลที่เคล้าคลึงสวมกอดแล้ว ด้วยเวทนาอันใด เวทนาอันนั้นไม่ประเสริฐ

   จึงตรัสว่า “ภิกฺขเว” ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจะบอกแก่ท่านทั้งหลาย ตถาคตจะยังท่านทั้งหลายให้รู้อย่างนี้ว่า “ยํ อมุํ ํ มหนฺตํ” บุคคลผู้ใดสวมกอดซึ่งกองเพลิงอันไฟไหม้รุ่งเรืองโดยรอบ มีประชุมเปลวบังเกิดแล้ว ด้วยเวทนาอันใด เวทนาแห่งบุคคลนั้นประเสริฐกว่าภิกษุไม่มีศีล มีสภาวะลามก มีมารยาทอันน่ารังเกียจชื่อว่ามิได้สะอาด เพราะมีกายกรรมเป็นต้นไม่บริสุทธิ์ มีกรรมอันปกปิด เหตุกรรมนั้นพึงละอายยังตนให้รู้ตนไม่เป็นสมณะ ปฏิญญาณตนว่าเป็นสมณะ ตนมิได้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ ปฏิญญาณตนว่าประพฤติธรรมอันประเสริฐอันกรรมเบียดเบียนเข้าไปภายในจิต เพราะเหตุวิบัติจากศีล มีจิตอันชุ่มไปด้วยโทษทั้งหลายมีหยากเยื่อ คือราคาทิกิเลสบังเกิดแล้ว

   “ตํ กิสฺส เหตุ” เหตุที่ตถาคตบอกแก่ท่านทั้งหลายนั้น จะประพฤติเป็นไปเพื่อเหตุดังฤๅ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่กอดกองเพลิงจะถึงซึ่งความตาย และจะถึงซึ่งเวทนาแทบบรรดาตายเพราะเหตุกองเพลิงนั้น ก็ไม่พึงไปบังเกิดในอบาย และทุคคติ และอสุรกาย และนรกเบื้องหน้าแต่ทำลายกาย เพราะเหตุกองเพลิงอันใหญ่ไหม้ซึ่งตนนั้น

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีศีล มีธรรมอันลามก มีมรรยาทอันระลึกด้วยรังเกียจ ชื่อว่ามิได้สะอาด เพราะเหตุมีกายกรรมเป็นต้นไม่บริสุทธิ์ มีกรรมอันปกปิด เพราะเหตุกรรมนั้นควรจะพึงละอายตนไม่เป็นสมณะปฏิญญาณตนว่าเป็นสมณะ ตนไม่ประพฤติธรรมอันประเสริฐ มีกรรมอันเปื่อยเน่าเข้าไปในภายใน เพราะว่าวิบัติจากศีล มีจิตอันชุ่มไปด้วยโทษ มีหยากเยื่อคือราคาทิกิเลสอันบังเกิดแล้ว “ขตฺติยกญฺญํ วา พฺราหฺมณกญญํวา” เคล้าคลึงสวมกอดนางขัตติยกัญญา และนางพราหมณกัญญา และนางคฤหบดีกัญญา แล้วและนั่งใกล้และนอนใกล้ อกุศลกรรมของภิกษุนั้นก็จะประพฤติเป็นไปให้นำมาซึ่งสิ่งที่มิได้เป็นประโยชน์ และจะนามาซึ่งทุกข์สิ้นกาลช้านานเบื้องหน้าแต่ทำลายกาย ภิกษุนั้นจะไปบังเกิดในอบายและคติอันชั่วคืออสุรกายและนรก เอวํ ก็มีด้วยประการดังนี้


  
:: กลับด้านบน :: :: ย้อนกลับ ::     :: หน้าต่อไป ::


webmaster@larnbuddhism.com
23 June 2005 by 3 nang ©copyright 2005©larnbuddhism.com