บุญกริยาวัตถุ ๑๐

บุญกริยาวัตถุ ๑๐ ได้แก่

     ๑. ทานมัย การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้รับ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- เป็นที่มาของทรัพย์สมบัติทั้งหลาย
    ๒- เป็นที่ตั้งของโภคทรัพย์ทั้งปวง
    ๓- ผู้ให้ย่อมได้รับความสุข
    ๔- ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    ๕- ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีผู้อื่นไว้ได้
    ๖- ทำให้เป็นผู้มีเสน่ห์น่านับถือ
    ๗- ทำให้เป็นที่น่าคบหาของคนดี
    ๘- ทำให้เข้ากับสังคมอื่นได้คล่องแคล่ว
    ๙- มีบุคลิกองอาจ สง่าผ่าเผย
    ๑๐- ทำให้มีชื่อเสียงเกียรติคุณดี
    ๑๑- ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

     ๒. สีลมัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- ทำให้มีความสุขกาย สุขใจ
    ๒- ทำให้เกิดโภคทรัพย์ได้
    ๓- ทำให้สามารถใช้สอยทรัพย์นั้นได้เต็มอิ่ม โดยไม่หวาดระแวง
    ๔-ทำให้ไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะมีใครมาทวงทรัพย์คืน
    ๕- ทำให้เกียรติคุณฟุ้งขจรไป ทำให้ผู้อื่นเกิดความเชื่อถือ
    ๖- ทำให้ชีวิตนั้นแกล้วกล้าองอาจท่ามกลางชุมชน
    ๗- ทำให้ไม่เป็นคนหลงลืมสติ
    ๘- ตายแล้วไปเกิดในสุคตภูมิ

     ๓. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ย่อมต้องได้รับอานิสงส์
    ๑- มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๒- มีผิวพรรณผ่องใส
    ๓- มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง
    ๔- มีความจำดี และกำลังปัญญาว่องไว
    ๕- เป็นคนใจคอเยือกเย็น
    ๖- เป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น
    ๗- มีบุคลิกอันน่าศรัทธา
    ๘- เกิดในตระกูลดี
    ๙- มีบุคลิกสง่างาม
    ๑๐- มีมิตรสหายมาก
    ๑๑- เป็นที่เคารพยำเกรงของคนทั่วไป
    ๑๒- เป็นที่ชื่นชอบของบัณฑิต
    ๑๓- สมบูรณ์ด้วยปัจจัย ๔
    ๑๔- ปราศจากอกุศลทั้งปวง
    ๑๕- ปลอดภัยจากศาสตราวุธ
    ๑๖- มีอายุยืน
    ๑๗- ตายแล้วเกิดในสุคติภูมิ

     ๔. อปจายนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอ่อนน้อมถ่อมตน ต่อผู้ที่ควรเคารพนบนอบ (คุณวุฒิ วัยวุฒิ ชาติวุฒิ) ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- เกิดในตระกูลสูง
    ๒- มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
    ๓- มีมิตรสหายดี
    ๔- ได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
    ๕- มีความสมบูรณ์ในทรัพย์
    ๖- ได้พบเห็นแต่สิ่งที่ตนปรารถนา

     ๕. เวยยาวัจจะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการช่วยเหลือกิจการงานที่ชอบ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- มีความเป็นอยู่ดี สุขกายสุขใจ
    ๒- มีมิตรสหายมาก
    ๓- มีไหวพริบความจำดี
    ๔- มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง

     ๖. ปัตติทานะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น (การแผ่เมตตา) ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- ไม่มีความอดอยาก ยากจน
    ๒- ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
    ๓- มีบริวารดี
    ๔- เป็นที่รักของผู้พบเห็น
    ๕- มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม
    ๖- มีอายุยืน

     ๗. ปัตตานุโมทนา บุญที่สำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- มีสุขภาพสมบูรณ์
    ๒- มีฐานะดี
    ๓- มากไปด้วยลาภสักการะ
    ๔- พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ

     ๘. ธัมมสวนะ บุญที่สำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- เกิดในตระกูลสูง
    ๒- มีสติปัญญาดี
    ๓- มีมิตรสหายดี
    ๔- มีความเชื่อมั่นในตนเอง

     ๙. ธัมมเทสนา บูญที่สำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- ไม่มีกลิ่นปาก
    ๒- มีฟันขาวเรียบ
    ๓- บุตรบริวารมีความเชื่อฟัง
    ๔- มีบุคลิกสง่างาม
    ๕- มีความจำดี
    ๖- เป็นที่ไว้วางใจแก่ผุ้พบเห็น

     ๑๐.ทิฏฐุชุกรรม บุญที่สำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ย่อมต้องได้รับอานิสงส์ ดังนี้
    ๑- มีปัญญาดี
    ๒- ไม่อดอยาก
    ๓- ไม่ยากจน
    ๔- มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง
    ๕- มีบุคลิกสง่างาม
    ๖- พบเห็นแต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
    ๗- มีฐานะความเป็นอยู่ดี
    ๘- มีบริวารมาก
    ๙- มีความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่มีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น

    บุญกริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในทาน ศีล ภาวนา ได้ดังนี้คือ ทาน ปัตติทานะ ปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน ศีล อปจายะ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ใน ศีล ภาวนา ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา ทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ใน ภาวนา

    ภาวนามัย อานิสงค์ ๑๗ ข้อดังกล่าว จะสรุปได้ว่า บุญที่สำเร็จได้ด้วยการเจริญสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา ได้บุญ เพราะจิต ได้ ข่ม ลด ละ เลิก ตัด กิเลส เป็น ชั้นๆ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน ในจำนวน ๑๐ ข้อ ภาวนามัย จึงสำคัญ ที่ สุด เพราะเป็น ปฏิบัติบูชา

← ย้อนกลับ        ปิดหน้านี้          ถัดไป →