มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร

    เพราะเหตุไร พระผู้เป็นเจ้า จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียว ก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งได้.

    เล่าว่าชาวแคว้นกุรุ ไม่ว่าเป็นภิกษุหรือภิกษุณี และอุบาสก อุบาสิกา มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ด้วยเสพปัจจัย คือฤดูเป็นที่สบายเพราะแคว้นนั้น สมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีอุตุสัปปายะ เป็นต้น . ชาวกุรุนั้นมีกำลังปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุ่นแล้ว จึงสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ่งนี้ได้

   เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นความสามารถรับเทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้ จึงทรงยกกัมมัฆฐาน ๒๑ ฐานะใส่ลงในพระอรหัตตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้ แก่ชาวกุรุเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุรุษได้ผอบทองแล้ว พึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงไปในผอบทองนั้น หรือว่าบุรุษได้หีบทองแล้ว พึงใส่รตะ ๗ ลงฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ฉันนั้น ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้ว จึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง ด้วยเหตุนั้นแล.

   ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่น ๆ อีก มีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์ทีฆนิกายนี้ ก็คือมหานิทานสูตรในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ก็คือ สติบัฏฐานสูตร สาโรปมสูตร รุกโขปมสูตร รัฏฐปาลสูตร มาคัณฑิยสูตร อาเนญชสัปปายสูตร..

   อนึ่ง บริษัท ๔ ในแคว้นกุรุนั้น ต่างก็ประกอบเนือง ๆ ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่โดยปกติ โดยที่สุด คนรับใช้ และคนงานทั้งหลาย ก็พูดกันแต่เรื่องที่เกี่ยวด้วย สติปัฏฐานกันทั้งนั้น แม้แต่ในที่ท่าน้ำ ที่กรอด้ายเป็นต้น ก็ไม่มีการพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย.. ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่า “ คุณแม่จ๊ะ คุณแม่ใส่ใจสติปัฏฐานข้อไหน ” นางก็จะไม่ตอบว่าอะไร ชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่าตำหนิชีวิตของเจ้าจริง ๆ เจ้าถึงเป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้วต่อนั้นก็จะสอนเขาว่าอย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะ แล้วให้เข้าเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง แต่สตรีผู้ใดพูดว่า “ ดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะ ” ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจดูสติปัฏฐานแต่พวกเดียวเท่านั้น แม้แต่สัตวดิรัจฉาน ที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจ เจริญสติปัฏฐานด้วยเหมือนกันในข้อนั้น มีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.....

   

ลูกนกแขกเต้า

    นักฟ้อนรำผู้หนึ่ง จับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่ง ฝึกสอนมันพูดภาษาคน ( ตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่น ๆ ) นักฟ้อนรำ ผู้นั้นอาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่ เวลาไปในที่อื่น ๆ ลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิทแล้วไป . เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยง ตั้งชื่อมันว่า พุทธรักขิต.

   วันหนึ่ง พระมหาเถรี เห็นมันจับอยู่ตรงหน้า จึงเรียกมันว่า พุทธรักขิต ลูกนกแขกเต้าจึงขานถามว่า “ อะไรจ๊ะ แม่เจ้า” พระมหาเถรีจึงถามว่า “ การใส่ใจภาวนาอะไร ๆ ของเจ้ามีบ้างใหม่ ” มันตอบว่า “ไม่มีจ๊ะแม่เจ้า” พระมหาเถรีจึงสอนว่า “ ขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ในสำนักของพวกนักบวช จะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควร ควรปรารถนาการใส่ใจบางอย่าง แต่เจ้าไม่ต้องสำเนียกอย่างอื่นดอก จงท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิ ก็พอ” ลูกนกแขกเต้านั้น ก็อยู่ในโอวาทของพระเถรี ท่องว่า อัฏฐิ อัฏฐิ อย่างเดียวแล้วเที่ยวไป

   วันหนึ่งตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตู ผึ่งแดดอ่อนอยู่ แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ . มันส่งเสียง กิริ ๆ . เหล่าสามเณรี ก็ร้องว่าแม่เจ้า พุทธรักขิต ถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป เราจะช่วยมัน ต่างก็คว้าก้อนดินเป็น ไล่ตามจนเหยี่ยวปล่อย เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรี ๆ ถามว่า พุทธรักขิตขณะเจ้าถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร ?

   ลูกนกแขกเต้าตอบว่า “ แม่เจ้า ไม่คิดอะไร ๆ ดอก คิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจ๊ะแม่เจ้า ว่ากองกระดูกพากองกระดูกไป จักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ.” พระมหาเถรีจึงให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ พุทธรักขิตนั้นจักเป็นปัจจัย แห่งความสิ้นภพของเจ้า ในกาลภาคหน้าแล.

   แม้สัตว์ดิรัจฉานในแคว้นกุรุนั้น ก็ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสติปัฏฐาน ด้วยประการฉนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความเจริญแพร่หลายแห่งสติปัฏฐานของชาวกุรุเหล่านั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้...

   

ความทุกข์ของพระติสสเถระ

    ในกรุงสาวัตถี บุตรของกุฏมภีชื่อติสสะ ละทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่าน ส่งโจร ๕๐๐ ให้ไปฆ่าท่านเสีย . พวกโจรไปล้อมท่านไว้ . ท่านจึงถามว่า “ ท่านอุบาสกมาทำไมกัน ” พวกโจรตอบว่า “ มาฆ่าท่านนะซิ ” ท่านจึงได้พูดขอร้องว่า ท่านอุบาสกทั้งหลาย โปรดรับประกันมาตมา ให้ชีวิตอาตมาสักคินหนึ่งเถิด .

    พวกโจรกล่าวว่าสมณะ “ ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้ ” พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขาทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่าประกันพอใหม เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรม พระเถระข่มเวทนา พิจารณาศีล อาศัยศีลที่บริสุทธิ์ ก็เกิดปีติและปราโมช ลับดับต่อจากนั้น ก็เจริญวิปัสสนา ทำสมณธรรมตลอดคืน ในยามทั้งสามพออรุณขึ้น ก็บรรลุพระอรหัตผลจึงเปล่งอุทานว่า

อุโภ ปาทานิ ภินฺทิตฺวา สญฺญมิสฺสามิ โว อหํ
   อฏฏิยามิ หรายามิ สราคมรเณ อหํ
   เอวาหํ จินฺตยิตฺวาน ยถาภูตํ วิปัสฺสิสํ
   สมฺปตฺต อรุณุคฺคมหิ อรหตฺตํ อปาปุณึ.
เราทุบเท้าทั้งสองข้าง ป้องกันท่านทั้งหลาย
   เราเอือมระอาในความตายทั้งที่ยังมีราคะ เราคิดอย่างนี้แล้ว
    ก็เห็นแจ้งตามความเป็นจริง พอรุ่งอรุณมาถึง เราก็บรรลุพระอรหัต ดังนี้..

   

ทุกข์ของภิกษุ ๓๐ รูป

    ภิกษุ ๓๐ รูป อีกกลุ่มหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจำพรรษาในวัดป่า ทำกติกากันว่า ผู้มีอายุ เราควรทำสมณธรรม ตลอดคืนฝนยามทั้งสาม เราไม่ควรมายังสำนักของกันและกัน แล้วต่างคนต่างอยู่

    เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรม ตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับเสือตัวหนึ่งก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูป ๆ ภิกษุไร ๆ ก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่าเสือคาบผมแล้ว ๆ ภิกษุถูกเสือกินไป ๑๕ รูป ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงวันอุโบสถภิกษุที่เหลือก็ถามว่า ท่านอยู่ที่ไหน และรู้เรื่องแล้วกล่าวว่า ถูกเสือคาบควรบอกว่า บัดนี้เสือคาบไป ๆ แล้วอยู่กันต่อไป

    ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง โดยนัยก่อน ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่า เสือขอรับ ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้า และคบเพลิงติดตามหมายว่าจะให้ทันปล่อย เสือก็ขึ้นไปยังเขาขาด ทางที่ภิกษุทั้งหลายไปไม่ได้ เริ่มกินภิกษุนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้า ภิกษุทั้งหลายนอกนั้น ก็ได้แต่กล่าวว่าสัปบุรุษ บัดนี้ กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มี ขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลายย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้

    ภิกษุหนุ่มนั้น นอนในปากเสือ ข่มเวทนา เจ็บปวด แล้วเจริญวิปัสสนาตอนเสือกินข้อเท้า เป็นพระโสดาบัน ตอนกินไปถึงหัวเขาเป็นพระสกทาคามี ตอนเสือกินถึงท้อง เป็นพระอนาคามี ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ก็บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่งอุทาน ดังนี้    

สีลวา วตฺตสมฺโน บญฺญวา สุสมาหิโต
   มุหุตฺตํ ปมาทมนฺวาย พฺยคฺเฆ โน รุทฺธมานโส ปญฺชรสฺมึ โส
   คเหตฺวา สิลาย อุปรี กโต กามํ ขาทตุ มํ พฺยคฺโฆ
   อฏฺฐิยา จ นฺหารุสฺส จ กิเลเส เขปยิสฺสามิ ผุสิมฺสามิ วิมุตฺติยํ
เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา
   มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความไม่ประมาท ครู่หนึ่ง
   ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือ มันก็จับไว้ในกงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน
   เสือจงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามที เราจักทำกิเลสให้สิ้นไป จักสัมผัสวิมุตติ ดังนี้...

   

เรื่องทุกข์ ของพระปิติมัลลเถระ

    ภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ ปีติมัลลเถระ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ท่านถือธงมาเกาะลังกา ถึง ๓ รัชกาล เข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ได้รับพระราชานุเคราะห์ วันหนึ่ง เดินทางไปประตูศาลา ที่มีที่นั่งปูเสื่อลำแพน ได้ฟังนตุมหากวรรค ( ในสังยุตตนิกาย ขันธวาวรรค ) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่าน ท่านจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื่อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วก็คิดว่า มิใช่รูปเท่านั้น เวทนาก็ไม่ใช่ของตน

    เขาทำพระบาลีนั้นเป็นหัวข้อ แล้วออกไปยังมหาวิหารขอบวชบรรพชาอุปสมบท แล้วกระทำมาติกา ให้ทั้งสองคล่องแคล้ว พาภิกษุ ๓๐ รูป ไปยังลาน ณ ตำบลควปรปาลี กระทำสมณธรรม เมื่อเท้าเดินไม่ไหวก็คุกเข่าเดินจงกรม ในคืนนั้น พรานเนื้อผู้หนึ่งสำคัณว่าเนื้อ ก็พุ่งหอกออกไป หอกก็เล่นถูกท่านถึงทะลุ ท่านก็ให้เขาชักหอกออก เอาเกลียวหญ้าอุดปากแผล ให้เขาจับตัวนั่งบนหลังแผ่นหิน ให้เขาเปิดโอกาสเจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พยากรณ์ แก่ภิกษุทั้งหลายที่พากันมาโดยให้เสียงไอ จาม เปล่งอุทานดังนี้ว่า

ภาสิตํ พุทฺธเสฏฐสฺส สพฺพโลกคฺควาทิโน
   น ตุมฺหากมิทํ รูปํ ตํ ชเหยฺยาถ ภิกฺขโว
   อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
   อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข.
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ที่สรรเสริญกันว่า
   เลิศทุกแหล่งล้า ทรงภาษิตไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
   รูปนี้มิใช่ของท่าน ท่านทั้งหลายพึงละรูปนั้นเสีย
   สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีเกิด และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
   เกิดแล้วก็ดับ ความสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข ดังนี้ ...

   

เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ

    ก็ท้าวสักกะ จอมเทพ ทรงเห็นบุพพนิมิต ๕ ประการ ของพระองค์ถูกมรณะภัยคุกคาม เกิดโทมนัส เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา ท้าวเธอก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ด้วยอำนาจการวิปัสสนาอุเบกขาปัญหา เรื่องการอุบัติของเธอจึงกลับเป็นปกติอีก

   

เรื่องโทมนัสของสพรหมเทพบุตร

    แม้สุพรหมเทพบุตร อันนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ห้อมล้อม ก็เสวยสรรค์วมบัติ ในจำพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้น นางเทพอัปสรห้าร้อยมัวเก็บดอกไม้จากต้น ก็จุติไปเกิดในนรก สุพรหมเทพบุตรรำพึงว่าทำไมเทพอัปสรเหล่านี้ชักช้าอยู่ ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรก จึงหันหน้ามาพิจารณาดูตัวเอง อายุเท่าไรแล้วหนอ ก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุ จะไปเกิดในนรกนั้นด้วยก็หวาดกลัว เกิดโทมนัสอย่างยิ่ง เห็นว่า พระบรมศาสดาเท่านั้น จะยังความโทมนัสของเรานี้ให้พินาศไป ไม่มีผู้อื่น แล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือเข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า

นิจฺจุตฺรมิทํ จตฺตํ นิจฺจุพฺพิคฺคมิทํ
   มโน อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ อโถ อุปฺปตฺติเตสุ จ
    สเจ อตฺถิ อนุตฺรสฺตํ ตํ เม อกฺขาหิ ปุจฺฉิโต
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ จิดใจนี้หวาด
   อยู่เป็นนิตย์ ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิด ทั้งในกิจที่เกิดแล้ว
   ถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้งมีอยู่ ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้ว
   โปรดบอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้น แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

   ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบอก สุพรหมเทพบุตร ( ในสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ) ว่า

นาญญฺญตฺร โพชฺฌา นาญฺญตร อินฺทฺริยสํวรา
   นาญฺญตฺร สพฺพปฏินิสฺสคฺคา โสตฺถึ ปสฺสามิ ปาฌินํ
นอกจากปัญญาเครื่องรู้ ตปะเครื่องเผาความชั่ว
   นอกจากความสำรวมอินทรีย์นอกจากความสละคืน
   ทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็มองไม่เห็นความ สวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้..

   ในที่สุดเทศนา สุพรหมเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนางเทพอัปสรห้าร้อยทำสมบัตินั้น ให้ถาวรแล้วกลับไปยังเทวโลก

   มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปเพื่อดับโทมนัส เหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังกล่าวมานี้

   มรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นอริยะ เรีบกว่า ญายธรรม ในข้อที่ว่า ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุญายธรรม ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือเพื่อถึงญายธรรมนั้น จริงอยู่ มรรค คือสติปัฏฐานที่เป็นโลกียะเบื้องต้นนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคที่เป็นโลกุตตร เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อบรรลุญายธรรม...

   ข้อว่า เพื่อทำให้เเจ้งพระนิพพาน ท่านได้อธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้ง คือเพื่อประจักษ์ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้ชื่อว่านิพพาน เพราะเว้นจากตัญหาเครื่องร้อยรัด จริงอยู่ มรรคนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมยังการทำให้แจ้งพระนิพพานให้สำเร็จไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน ดังนี้....

   

เรื่องดอกบัว

   ยังมีพระภิกษุ ๓ องค์ มีความเพียรเรียนพระกรรมฐานภาวนาพากันไปเที่ยวในประเทศราวป่า เพื่อเจริญสมณธรรมให้สำเร็จความปรารถนา ครั้นพากันมาถึงสระโบกขรณี จึงพากันไปอาศัยอยู่ในที่ใกล้แห่งสระน้ำ

    เอกา ทาริกา ครั้งนั้น มีเด็กหญิงคนหนึ่ง ครั้นไปถึงสระน้ำแล้วก็กล่าวเพลงขับอันประกอบไปด้วยสุภาษิตว่า โกกะนุทัง เป็นต้น แปลว่า

   ดอกบัวขาวและบัวหลวงงามปรากฏในเวลาเช้า ครั้นเวลาสายต้องแสงพระอาทิตย์แรงกล้า ดอกบัวทั้งหลายก็โรยราเหี่ยวแห้งไป ไม่งดงามสดใสเหมือนเวลาเช้า ดอกบัวนี้มีครุวนาฉันใด ร่างกายแห่งสัตว์และมนุษย์ทั้งหลายก็เหมือนกันฉันนั้น เมื่อหนุ่มสาวก็ชุ่มชื่นมีสีสัณฐ์แลดูงดงาม ครั้นแก่ชราก็เลวทรามร่วงโรยราไป ไม่งดงามผ่องใสเหมือนแต่ก่อนมา ด้วยอำนาจความชราเข้าครอบงำ ตะโย ตัง สุตตะวา

   พระภิกษุทั้ง ๓ องค์ได้ฟังเพลงขับแห่งเด็กหญิงเก็บดอกบัว กล่าวสุภาสิตาวาจา ก็พากันปลงปัญญาพิจาณาในพระไตรลักษณ์ เห็นแจ้งประจักษ์ในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายคลายจากอวิชชาตัญหา ถึงพระอรหัตตัดกิเลสขาดจากสันดาน......

บัวงามยามรุ่งเช้า................บานไสว
   ครั้นเมื่อสายกลายไป...........เหี่ยวแห้ง
   ตาเห็นตรึกธรรมใจ.............พลันสว่าง
   เทียบพระไตรลักษณ์แจ้ง......ตรัสรู้ดวงธรรม

   

เพลงขับของหญิงหาฟืน

   ยังมีภิกษุทั้งหลายไปเจริญพระกรรมฐานอยู่ในประเทศราวป่า

    เอกา อิตถี ยังมีหญิงผู้หนึ่งเป็นหญิงอนาถา เที่ยวไปในป่าเพื่อจะเก็บผักหักฟืน มีความชุ่มชื่นร้องเพลงขับประกอบไปด้วยสุภาสิตาวาจาว่า

   ร่างกายของเราท่านที่เกิดมามีความชราเบียดเบียน ย่อมอาเกียรณ์ไปด้วยกองทุกข์หาความสุขมิได้สักเวลา ภิกขุ ตัง สุตตะวา

   ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเพลงขับของหญิงนั้น เป็นสุภาษิตวาจาก็พากันปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณ์ ก็เห็นประจักษ์ในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็น  อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา ก็ได้สำเร็จอรหัตตัดกิเลสขาดจากสันดาน เป็นอริยสาวกในพระพุทธศานา....

สดับเพลงอิตถิร้อง............กังวาน
   ยังพระไตรลักษณ์ญาณ......แห่งนั้น
   ภิกษุเกิดปรีชาชาญ...........ก้าวล่วง
   ยังกิเลสสะบั้น.........ตรัสรู้องค์ธรรม

   

บุรุษผู้มีบุตร ๗ คน

   ในกาลที่ล่วงมาแล้วไปอันเป็นระหว่างแห่งพระพุทธเจ้า เอโก ปุริโส  ยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีบุตร ๗ คน พาบุตรทั้งหลายเที่ยวมาในระหว่างแห่งบ้าน เอกา อิตถี ยังมีหญิงผู้หนึ่งอยู่ในบ้านทำการตำข้าว หญิงผู้นั้นร้องเพลงขับเป็นสุภาษิตว่า ชะรายะ ปะริมัททิตัง เป็นต้น แปลว่า

   เราท่านทั้งหลายหญิงชายที่เกิดมา มีสรีรกายกายาอันชราย่ำยีให้ร่างกายอินทรีย์เที่ยวแห้งทั้งเรี่ยวแรงก็หมดไป วรรณะที่ผ่องใสก็แปรไปทุกประการ เนื้อหนังก็ย้อยยานวิการไปทั้งตัว เราท่านทั้งหลายเกิดมาจงพิจารณาให้ทั่ว อย่าหลงมัวเมาอยู่ด้วยตัวอวิชชา ความแก่ เจ็บ ตาย เราท่านทั้งหลายจงพิจารณาด้วยอุบายแห่งปัญญา ดังพรรณนามาฉะนี้  เต ชะนา ตัง สุตตะวา

   ชนทั้งหลายพ่อลูกทั้ง ๘ คนนั้น ได้ฟังเพลงขับแห่งหญิงตำข้าว อันประกอบไปด้วยสุภาสิตาวาจา ก็ปลงปัญญาลงสู่พระไตรลักษณญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็น   อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  ดับตัวอวิชชาตัญหาให้ขาดจากสันดาน ก็ได้เป็นพระปัจเจกโพธิเจ้าทั้งสิ้น.....

บุรุษมีบุตรล้น.............มากหลาย
   พาบุตรผ่านเยือนกราย..............หมู่บ้าน
   สดับเพลงที่หญิงร่าย.............เจ็บแก่........ตายนา
   ปัญญาโพธิพุทธแผ่สร้าน.......ตรัสรู้ปัจเจกธรรม

← ย้อนกลับ        ปิดหน้านี้          ถัดไป →