ทีปังกรพุทธวงศ์ที่ ๑ (ต่อ)

      ในกาลนั้น มหาชนเหล่านั้น นิมนต์พระศาสดาพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นนายกของโลก พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ ให้เสวยแล้ว ได้ถือ เป็นสรณะ พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใคร ๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณะ พระตถาคตผู้นราสภ ทรงยังใครๆ ให้ตั้งอยู่ในสรณคมน์ ทรงยัง ใคร ๆ ให้ตั้งอยู่ในเบฌศีล ทรงยังใคร ๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ทรง ประทานสามัญผล คือ ผล ๔ อันสูงสุดให้แก่ใคร ทรงประทาน ธรรมอันไม่มีธรรมอื่นเสมอ คือปฏิสัมภิทาให้แก่ใคร

      ทรงประทาน สมาบัติ อันประเสริฐ ๘ ให้แก่ใคร ทรงประทานวิชชา ๓ อภิญญา ๖ ให้แก่ใคร มหามุนีย่อมตรัสสอนหมู่ชน ด้วยธรรมเครื่องประกอบ นั้น พระศาสนาของพระโลกนาถ แผ่ไปกว้างขวางด้วยธรรมนั้น พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระหนุใหญ่ และพระกายงาม ทรงช่วยให้คนหมู่มากข้ามไป ทรงเปลื้องให้พ้นทุคติ พระมหามุนี ทรงเห็นคนที่ควรให้ตรัสรู้ได้แม้ในแสนโยชน์ ก็เสด็จไปชั่วขณะ เดียว ทรงยังผู้นั้นให้ตรัสรู้ ในธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ พระพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงยังชนให้ตรัสรู้ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เก้าสิบ โกฏิ และธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพเก้าหมื่นโกฏิ

      ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมในเทพพิภพพระพุทธทีปังกรบรม ศาสดาทรงประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง การประชุมครั้งที่ ๑ มีพระสาวกแสนโกฏิ เมื่อพระพิชิตมาร ประทับอยู่ในที่ วิเวก ที่ยอดเขานารทะอีก พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ มาประชุมกัน สมัยใด พระมหามุนีมหาวีรเจ้า ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เก้าหมื่นโกฏิ ที่ยอดเขาสุทัสนะ

      สมัยนั้น เรา เป็นชฎิลผู้มีตบะอันรุ่งเรือง รู้จบอภิญญา ๕ เหาะไปในอากาศได้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาและมนุษย์สองแสน ธรรมาภิสมัยในครั้ง ที่ ๑ และครั้งที่ ๒ คณนานับมิได้ ในกาลนั้น พระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคทีปังกรแผ่ไพศาล มีคนมาก เจริญแพร่หลายบริสุทธิ์ สะอาด ภิกษุสงฆ์สี่แสน ล้วนได้อภิญญา ๖ มี ฤทธิ์มาก แวดล้อม พระผู้มีพระภาคทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง สมัยนั้น ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่ได้บรรลุอรหัตเป็นพระเสขะ ละภพมนุษย์ ไป ชนเหล่านั้นย่อมถูกครหา พระศาสนาแพร่หลาย งดงามด้วย พระอรหันตขีณาสพ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน ในกาลทั้งปวง พระนคร ชื่อรัมมวดี พระชนกนาถของพระทีปังกรบรมศาสดาเป็นพระมหา- กษัตริย์ ทรงพระนามว่าสุเทพ พระชนนีทรงพระนามว่า สุเมธา พระพิชิตมารทรงครอบครองอคารสถานอยู่หมื่นปี ทรงมีฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูงมากมาย มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท มีนางสนมนารีกำนัลใน ๓ แสน ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่าปทุมา พระราชโอรสพระนามว่าอุสภขันธกุมาร พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยคชสาร- ยานพระที่นั่งต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม

      ครั้นทรง ประพฤติปธานจริยาแล้ว ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ พระมหามุนี ทีปังการ มหาวีรชินเจ้าอันพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระ- ธรรมจักร แล้วประทับอยู่ในนันทารามประทับนั่งที่ควงไม้ซึก ทรง ปราบปรามเดียรถีย์ ทรงมีพระสุมงคลเถระ และพระติสสเถระเป็น พระอัครสาวก มีพระเถระชื่อว่าสาคตะเป็นอุปัฏฐากมีพระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี เป็นพระอัครสาวิกาไม้โพธิพฤกษ์ของพระองค์ มหาชนเรียกว่า ปิปผลิ ทรงมีอุบาสกชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นอัครอุปัฏฐาก นางสิริมา และ นางโสณา เป็นอุปัฏฐายิกา พระมหามุนีทีปังกร สูง ๘๐ ศอก ทรงงดงามดังไม้ประจำทวีป เหมือนพญารังกำลังดอกบาน พระองค์มีพระรัศมีแผ่ซ่านออก ๑๐ โยชน์ โดยรอบ พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง มีพระชนมายุ แสนปี ทรงดำรงอยู่นานเพียงนั้น ทรงประกาศสัทธรรมให้รุ่งเรือง ช่วยบุคคลให้พ้นวัฏสงสารไปเป็นอันมาก

      พระองค์เองทรงรุ่งเรือง ดังกองไฟ แล้วเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก พระฤทธิ์ ยศ- บริวาร และจักรรัตนะที่พระยุคลบาท หายไปหมดทุกอย่าง สังขาร ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระทีปังกรชินศาสดา เสด็จนิพพาน ณ นันทารามพระสถูปของพระองค์ที่นันทารามนั้น สูง ๓๖ โยชน์ พระ สถูปบรรจุบาตร จีวร และบริขารและเครื่องบริโภคของพระองค์ ตั้งอยู่ที่ควงไม้โพธิพฤกษ์ในกาลนั้นสูง ๓ โยชน์.

จบทีปังกรพุทธวงศ์ ที่ ๑

← ย้อนกลับ        ปิดหน้านี้          ถัดไป →