อยากกลับบ้านก็ไปไม่ถูก นายจำรัส พุภูเขียว ผู้ระลึกชาติเก่าได้

   นายจำรัส พุภูเขียว ถูกคนร้ายฆ่าตายเพื่อชิงทรัพย์ “ กลับมาเกิดใหม่ ” ระลึกชาติได้ เขาคือ “ เด็กชายบงกช พรหมศิลป์ ”

   นายม่าน พุภูเขียว เป็นหนุ่มลูกอีสานขนานแท้ไม่มีปลอมปน เพราะพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย สืบทอดสายเลือดมาจากชาวทีี่ราบสูงตั้งแต่บรรพบรุษ เขาเกิดที่จังหวัดอุบล ราชธานี อาชีพของนายม่าน พุภูเขียว คือ ทำนาแต่ทำนาไม่ได้ผลเหลือข้าวแทบไม่พอกิน เขาจึงตัดสินใจเดินทางออกจากหมู่บ้าน ตระเวนหางานทำเช่นเดียวกับเพื่อนพ้องน้องพี่ทั้งหลาย

   นายม่าน มารับจ้างเป็นลูกจ้างทำนาที่จังหวัดนครสวรรค์ เขาเป็นคนขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ประกอบกับเป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ พยายามใช้จ่ายน้อยเท่าที่จำเป็นจริง ๆ จึงมีเงินเก็บออมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างทำนามาเช่าทำเอง ต่อมาได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับนางสาวศรีนวลจนได้แต่งงานกันในเดือน ๖ พอถึงเดือน ๗ นางศรีนวนก็ตั้งท้อง ประคองครรภ์มาจนครบถ้วนทศมาศ จึงคลอดบุตรคนแรกออกมาเป็นชาย นายม่านได้ตั้งชื่อ ลูกชายคนโตว่า   จำรัส

    จำรัส  เติบโตเจริญวัยจนครบเกณฑ์ต้องเข้าเรียนหนังสือ เขาได้เริ่มต้นการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประชาบาล วัดหัวถนนจนจบชั้น ป. ๔ ก็ออกจากโรงเรียนมาช่วยพ่อแม่ทำนา

   จำรัสมีน้องชาย - หญิงร่วมท้องอีก ๓ คน คือ สวัสดิ์ (เจ็บป่วยเสียชีวิต ) สะอาดเป็นผู้หญิง และสมจิตน้องสุดท้องเป็นผู้ชาย ขณะเดียวกันฐานะของนายม่านก็มีหลักฐานเป็น ปีกแผ่นยิ่งกว่าเดิม เพราะเขาสามารถเก็บออมเงินซื้อที่นา เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองถึง ๕๐ ไร่

   เมื่อจำรัสอายุได้ ๑๘ ปี นายม่านก็พาลูกชายไปรับหมายเกณฑ์รับใช้ชาติตามหน้าที่ของลูกผู้ชายชาวไทยทุกคน

   วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีงานบวชที่วัดหัวถนนเหนือ งานบวชในชนบทภาคกลางจะมีมหรสพฉลองให้ผู้มาร่วมงานบุญ ตลอดจนชาวบ้านละเเวกนั้นได้รับความสนุกรื่นเริงไปด้วย หนุ่ม ๆ จะพากันไปเที่ยว เพราะสาว ๆ ในหมู่บ้านจะมาช่วยงานบวชเช่นกัน งานประเพณีนิยมเช่นนี้จึงเท่ากับเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะกันอย่างเปิดเผย

   จำรัสขออนุญาตพ่อไปงานบวชที่วัดหัวถนนเหนือ นายม่านก็บอกให้ไปได้ เพราะเห็นว่าลูกชายโตเป็นหนุ่มพอสมควรแล้ว ค่ำของวันนั้น จำรัสแต่งตัวสำอาดเอี่ยมตามนิสัยขี้โอ่ของเขา เขาสวมเสื้อขาว กางเกงขาสั้นสีกากี ใส่สายสร้อยทองหนัก ๓ บาท ผูกนาฬิกาข้อมือ สวมแหวนทองและนาคอย่างละวง ลงจากเรือนไปด้วยกิริยาท่าทางรื่นเริง

   คืนนั้นเวลาประมาณเที่ยงคืน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มาที่บ้านของนายม่าน แล้วแจ้งให้นายม่านทราบว่า จำรัสลูกชายถูกคนร้ายฆ่าตายเสียแล้วเพื่อชิงทรัพย์  สถานที่เสียชีวิตตรงบริเวณแนวกอไผ่ข้างทางเดินใกล้กับศาลเจ้า คนร้ายใช้มีดปลายแหลมแทงที่กลางหลัง ใต้คอลงมา ๑ แผล และที่ท้อง ๑ แผล ข่าวร้ายนี้ทำให้นายม่าน นางศรีนวลและน้อง ๆ ของจำรัสเศร้าโศกเสียใจ ฟูมฟายแทบคุมสติไม่อยู่

   เจ้าหน้าที่ตำรวจและอำเภอมาชันสูตรพลิกศพจำรัสตามระเบียบราชการ แล้วก็มอบศพให้ครอบครัวไปประกอบพิธีตามประเพณี นายม่านผู้เป็นพ่อนำศพจำรัสไปที่วัดหัวถนนเหนือ แล้วจัดการเผาในเย็นวันนั้นเลย จากนั้นก็ทำบุญ ๗ วัน และ ๑๐๐ วัน ให้ลูกชายครบถ้วน

   คดีฆ่าชิงทรัพย์นายจำรัส พุภูเขียว อายุ ๑๙ ปี ตำรวจและอำเภอสืบสวนได้ความว่า มี นายแบน กับ นายมา ซึ่งรู้จักจำรัสดี ไปเที่ยวงานบวชเหมือนกัน ได้ชวนจำรัสไปเที่ยวงานบวชอีกงานหนึ่ง จำรัสก็ไป ขณะเดินไปด้วยกัน จำรัสขอตัวเข้าไปปัสสาวะที่ต้นตะโก นายแบนกับนายมาจึงฉวยโอกาสรุมแทงจำรัสด้วยมีดปลายแหลมจนเสียชีวิต ดังกล่าว จากนั้นทั้งสองได้ปลดทรัพย์สินมีค่าในตัวผู้ตายจนเกลี้ยงก่อนหลบหนีไป

   นายม่านพ่อของจำรัสเล่าให้ตำรวจฟังว่า นายมาเป็นคนแถวหัวถนนเหนือนี่เอง เคยมาเป็นลูกจ้างทำไร่ข้าวโพดอยู่ด้วยปีกว่า แต่นายมาประพฤติตัวไม่ดี นายม่านจึงไล่ออกคิดว่านายมาคงโกรธแค้น อาฆาตเขาถึงได้ลวงลูกชายไปฆ่า

   ต่อมาตำรวจจับนายมาได้เพียงคนเดียว ส่วนนายแบนหนีหายสาบสูญไป นายมาถูกฟ้องฟ้องศาล นายมาให้การว่า คนที่แทงจำรัสก่อนคือ นายแบน เมื่อนายจำรัสเสียชีวิตแล้ว นายแบนได้บังคับให้เขาแทงซ้ำ จะได้มีความผิดด้วยกัน แต่พยานหลักฐาน และพยานบุคคลไม่มีมาประกอบคดีแน่นหนาเท่าที่ควร ศาลจึงพิพากษาให้ปล่อยตัวนายมาไปหลังจากถูกจับมาคุมขังได้ ๓ เดือน

   มาเกิดกับครอบครัวพ่อแม่ใหม่ คือ นายอมร พรหมศิลป์   เป็นครูใหญ่โรงเรียนวัดแรง จังหวัดนครสวรรค์ มีภรรยาชื่อไสว อยู่ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ครูอมรและนางไสวมีบุตรด้วยกัน ๘ คน เป็นหญิง ๕ เสียชีวิตไป ๒ ต่อมานางไสวได้ตั้งครรภ์บุตรคนที่ ๙ แล้วคลอดบุตรออกมาเป็นชายเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ เวลา ๒๑. ๒๒ น. จึงได้ตั้งชื่อให้ว่า  บงกช 

   เมื่อ เด็็กชายบงกช   เจริญวัยจนอายุได้ ๒ ขวบกว่า เริ่มพูดได้ชัดถ่อยชัดคำ ก็เริ่มแสดงความประหลาดใจให้แก่พ่อแม่ นั้นคิอเขาจะร้องไห้โยเย และพร่ำบอกแต่ว่าจะไปหาพ่อแม่บ้านหัวถนน ครูอมรและนางำสวอธิบายว่าตัวเขาสองคนนี่แหละ คือ พ่อแม่ เด็กกลับเถียงว่าไม่ใช่พ่อแม่ของเขา เจ้าหนูบงกชจะพูดอย่่างนี้พร้อมกับร้องไห้ไปด้วยเสมอ ทำให้นางไสวผู้เป็นแม่โมโหหลายครั้ง บางครั้งถึงกับลงไม้ลงมือตีเอาด้วยไม้ก็เคยมี

   เวลาล่วงไปอีกหลายเดือนเด็กชายบงกช อายุครบ ๓ ขวบพูดชัดขึ้น พูดคล่องขึ้น เมื่อไปเล่นกับคนข้างบ้าน เด็กได้บอกย้ำกับคนข้างบ้านว่า เขาไม่ไช่ลูกของครูอมรกับนางไสวเป็นเป็นลูกนายม่านกับนางศรีนวน นามสกุล พุภูเขียว อยู่ที่ตำบลหัวถนน ถูกแทงตาย   เขาคิดถึงพ่อแม่เหลือเกิน ขอให้ช่วยพาไปหาพ่อแม่จริง ๆ ด้วยเถอะ เด็กพูดชัดถ้อยชัดคำ และร้องไห้รำพันอย่างจริงจัง ทำให้คนข้างบ้านนำความมาเล่าให้ครูอมรกับนางไสวฟัง

   คราวนี้ครูอมรกับนางไสว ชักเอะใจ จึงสอบถามเด็กชายบงกชอีกหลายครั้ง เด็กยืนยันว่าเขาชื่อจำรัส ไม่ใช่ชื่อ บงกช เช่นที่พ่อแม่ตั้งให้ เขาอยู่ที่ตำบลหัวถนน ถูกแทงตายข้าง ๆ ศาลเจ้า คนแทงเขาก็รู้จัก ชื่อนายแบนกับนายมา พอมันฆ่าเขาแล้ว มันได้เอาสร้อย แหวน นาฬิกาข้อมือไปหมด

   ผิดเหล่าผิดกอ  เด็็กชายบงกช   มีความผิดแปลก อย่างน่าประหลาดมาตั้งแต่ตัวน้อย ๆ นั้นคือบงกชชอบกินปลาร้าทั้ง ๆ ที่พ่อแม่และพี่ ๆ ไม่ชอบเนื่องจากเป็นชาวภาคกลางและชาวบ้านในตำบลดอนคาทั้งหมดเป็นคนภาคกลางทุกครอบครัว ไม่มีครอบครัวอีสานอยู่อาศัยในพื้นที่เขตนี้ แม่แต่คนเดียว พ่อแม่คือ ครูอมรกับนางไสวก็พูดภาษาอีสานไม่ได้ แต่เด็กชายบงกชกลับพูดภาษาอีสานได้อย่างชัดเจน คล่องแคล่วออกสำเนียงถูกต้องเช่นเดียวกับชาวอีสาน พูดภาษาอีสาน โดยที่เด็กไม่เคยพบปะพูดคุยกับชาวอีสานคนใดเลยตั้งแต่เกิด ดังนั้นจึงมิใช่การจดจำแบบอย่าง หรือ เลียนแบบสำเนียงภาษาพูดทุกกรณี

   สิ่งที่เด็กชายบงกชมีความผิดแปลกจากทุกคนในครอบครัวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขาชอบกินข้าวเหนียวแบบชาวอีสาน ส่วนชาวภาคกลางจะกินข้าวเหนียวเป็นของหวานมากกว่าจะกินเป็นอาหารหลัก เช่น เอาข้าวเหนียวมาทำเป็นข้าวเหนียวน้ำกะทิ ข้าวเหนียวเปียกหรือทำเป็นขนม แต่เด็กชายบงกชกลับชอบกินข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก คือ ปั้นจิ้มกับข้าวกินแบบอีสาน

   นับแต่เด็กชายบงกชบอกว่าเขาคือ จำรัสมาเกิดใหม่และขอให้พ่อแม่ในชาตินี้ คือ ครูอมรกับนางไสว พอไปหาพ่อแม่ในชาติก่อนเกือบทุกวัน ทำให้ครูอมรกับนางไสวกลุ้มใจอย่างบอกไม่ถูก เพราะครึ่งหนึ่งก็อยากเชื่อว่าลูกชายตัวน้อยรำลึกชาติได้ แต่อีกครึ่งหนึ่งคิดว่าอาจจะมีวิญญาณภูติผีปีศาจมาเข้าทรงหรือมาเข้าสิงก็เป็นได้

   นอกจากพ่อแม่ของเด็กชายบงกชและเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงต่างรู้เห็นความผิดประหลาดของเด็ก ยังมีช่างตัดผมอีกคนที่แปลกใจจากคำพูดแปลก ๆ ของเด็กชายบงกชนั้นคือ เมื่อนางไสวพาเด็กชายบงกชไปตัดผมที่ร้านตัดผมของลงบัว ในตลาดท่าตะโก เขาจะต้องสั่งให้ลุงบัวโกนหนวดโกนเคราให้ด้วย ลุงบัวถามว่าทำไมต้องโกนหนวดเคราด้วยละ เด็กชายบงกชตอบเขาว่าเขาเป็นหนุ่มแล้วก็ต้องโกนซิ

   ข่าวคราวเรื่องที่เด็กชายบงกช ระลึกชาติได้ว่าชาติก่อนของตนคือ นายจำรัสที่ถูกแทงตายกระจายออกไปแบบปากต่อปาก กระทั่งนายม่าน พุภูเขียว กับนางศรีนวล ภรรยาก็รู้ข่าวนี้ ทั้งสองจึงเดินทางไปพิสูจน์ความจริงด้วยกันที่ตำบลดอนคา

   นายม่านกับนางศรีนวล ได้สอบถามชาวบ้านเรื่อยมาว่าบ้านของครูไสวอยู่ที่ไหน กระทั่งมาถึงบ้านครูอมร และได้พบกับนางไสวแม่เด็กชายบงกชก่อน จึงแนะนำตัวเองว่าเป็นใครมาจากไหน และมาเพื่อขอพบเด็กชายบงกชด้วย เหตุผลอะไร นางไสวจึงพาสองคนเข้าไปในบ้าน

   พ่อแม่ในอดีตชาติ   เมื่อ นายม่านกับนางศรีนวล   เดินตามนางไสวเข้าไปในเขตรั้วบ้าน เด็กชายบงกช ซึ่งวิ่งเล่นอยู่ก็รีบวิ่งเข้ามาหา และไล่สุนัขที่เห่าคนแปลกหน้าเสียงขรึมให้ถอยห่างออกไป เด็กชายบงกชเอ่ยปากเรียกนายม่านกับนางศรีนวลว่าพ่อแม่ทันที แล้วต่อว่านายม่านกับนางศรีนวลว่าไม่มาหาเขาเลย เขาคิดถึงพ่อแม่ตลอดเวลาด้วยภาษาอีสาน ทำให้นายม่านกับนางศรีนวลถึงกับตะลึง

   นางไสวให้ทุกคนเข้าไปในบ้าน นายม่านจึงเริ่มต้น สอบถามเด็กชายบงกช เพื่อพิสูจน์ว่าเขาจะเป็นลูกของตน คือ นายจำรัสที่ตายไปแล้วจริงหรือไม่ นายม่านถามเรื่องสิ่งของ รถจักรยานยนต์ เด็กก็ตอบถูก ถามถึงมีดพก เด็กบอกว่าเอาเสียบช้างฝาไว้ ขอให้เก็บไว้ด้วย ซึ่งก็เป็นจริง

   นายม่านถามต่อไปอีกหลายอย่างหลายข้อ ปรากฏว่าเด็กชายบงกชตอบได้ถูกต้องไม่ติดขัดแม้แต่ข้อเดียว เช่นถามว่าทำไมเขาจึงตีน้องบ่ิอย ๆ เขาบอกว่าน้องดื้อ และขี้เกียจ ใช้ให้ทำงานชอบเถียง จึงตีสั่งสอนให้ทำตัวดี ๆ นายม่านถามอีกว่า วันที่ถูกแทงตายใส่เสื้อผ้าสีอะไรออกจากบ้าน เด็กชายบงกช พูดว่า “ ใส่เสื้อสีขาว กางเกงขาสั้นสีกากี พ่อนั้นแหละเป็นคนบอกให้ใส่ ” 

   นายม่านได้ฟังเด็กพูดประโยคที่ว่า “ พ่อนั่นแหละเป็นคนบอกให้ใส่ ” เท่านั้น ถึงกับร้องไห้ออกมา ส่วนนางศรีนวลผู้เป็นแม่ร้องไห้โฮเสียงลั่น เพราะคำพูดประโยคนี้ไม่มีใครรู้ไม่มีใครได้ยิน เพราะนายม่านพูดกับจำรัสเพียงสองต่อสองดังนั้น เมื่อเด็กชายบงกชพูดเช่นนั้น ทั้งสองจึงแจ่ใจ มั่นใจว่าเด็กชายบงกช คือ จำรัสลูกชายของตนที่ถูกคนร้ายแทงตายไม่ผิดพลาดแน่ ๆ

   เป็นข่าวหนังสือพิมพ์เรื่องเด็กชายบงกช พรหมศิลป์   ระลึกชาติได้นี้ไม่เพียงแต่รู้กันในวงแคบ ๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปถึงหนังสือพิมพ์รายวัน ผู้สือข่าวได้มาสัมภาษณ์เด็กชายบงกชและได้เสนอรายละเอียดเพิ่มเติม

   ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์  กับเด็กชายบงกช ไปเยี่ยมนายม่านกับนางศรีนวล ที่ตำบลหัวถนน อำเภอท่าตะโก ขณะที่ทั้งหมดกำลังสนทนากันอยู่ นางสะอาดซึ่งเป็นน้องสาวของจำรัสได้มาเยี่ยมพ่อแม่พอดี สะอาดมีครอบครัวแล้ว มีลูกคนหนึ่งจึงอุ้มลูกกระ้เตงมาด้วย เด็กชายบงกชเห็นน้องสาวก็ทักทายอย่างสนิมสนม เเละเมื่อเห็นลูกของนางสะอาดมอมแมม เพราะปล่อยให้เล่นคลุกฝุ่นมา เขาก็บอกนางสะอาดเป็นภาษาอีสานให้เอาลูกไปอาบน้ำเสีย เนื้อตัวสกปรกเหลือเกิน ซึ่งเด็กอายุ ๓ ขวบ ไม่น่าจะพูดเหมือนผู้ใหญ่เช่นนั้นได้ ผู้สื่อข่าวต่างแปลกใจไปตาม ๆ กัน

   ตลอดเวลาที่เด็กชายบงกชพูดกับนายม่านและนางศรีนวลเขาจะพูดด้วยภาษาอีสาน

   ผู้สื่อข่าว   ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ ได้ขอให้เขาตอบเป็นภาษาอีสาน ซึ่งเขาก็โต้ตอบด้วยภาษาอีสานไม่ผิดพลาดเช่นกัน

   ผู้สื่อข่าว   ถามว่าใครฆ่าหนูตาย เด็กชายบงกช มองหน้าผู้ถามแล้วตอบอย่างฉุน ๆ ว่า “ ไอ้แบนกับไอ้มาน่ะซิ มันมาข้างหลังแล้วแทงตรงพุงนี่ ” ( เอามือชี้ที่ท้อง ทำท่าทะมัดทะแมงพร้อมกับแสดงท่าถูก ฆาตกรล็อคคอแล้วแทงที่ท้อง ”

   ผู้สื่อข่าว   ถามต่อไปอีกว่า เมื่อถูกแทงตายไปแล้วทำไม่ไปบอกตำรวจ เด็กชายบงกชบอกว่า เขาหลับไปไม่รู้เรื่อง รู้แต่ว่าอยู่เฉย ๆ ไม่รู้สึกหิวอะไรเลย เมื่อถามว่าอยู่อย่างไร เด็กบอกว่าอยู่คนเดียว ตรงบริเวณที่ถูกฆ่าตาย จะไปบ้านไปหาพ่อแม่ก็ไม่ไปไม่ถูก จึงวนเวียนอยู่ที่นั้นกระทั่งพบพ่อ ( ครูอมร ) นั่งรถกลับจากประชุมครูผ่านมา เขาจึงกระโดดเกาะท้ายรถของพ่อตามมาด้วย

   ผู้สื่อข่าว   ถามอีกว่า แล้วมาอยู่กับแม่ใหม่เมื่อไหร่ เด็กชายบงกชพูดห้วน ๆ ว่า “ ถามไม่เข้าเรื่องพอเสียทีซิ ” แล้วก็ไม่เอาใจใส่กับผู้สื่อข่าวอีกหันไปเล่นกับเพื่อนเด็ก ๆ ด้วยกัน

   จิตติดมาจากอดีต ก่อนจำรัสจะถึงแก่ความตาย   เขารักใคร่ชอบพอกับสาวรุ่นคนหนึ่งชื่อ เีทียน บุญสิม ( นายผิน บุญสิม บิดาของสาวเทียนยืนยันว่าหนุ่มสาวคู่นี้ ชอบพอกันจริง ๆ ) หลังจากจำรัสเสียชีวิตหลายปี สาวเทียน จึงได้แต่งงานกับหนุ่มอีกคนหนึ่ง

   เมื่อจำรัสมาเกิดใหม่เป็นเด็กชายบงกช เขาก็ยังมีจิตใจผูกพันกับสาวเทียนอยู่เช่นเดิม เมื่อเด็กชายบงกชมาเยี่ยมพ่อแม่ชาติก่อน คือ นายม่าน นางศรีนวล นางเทียน ซึ่งอยู่บ้านใกล้ ๆ จึงรีบมาดูเด็กชายบงกชมองหน้านางเทียนคู่รักเก่าแล้วเมินเสีย ไม่ยอมพูดด้วย มีคนถามเด็กชายบงกชว่า ทำไมไม่พูดจาทักทายนางเทียนละ เด็กตอบห้วน ๆ ว่า “ อีเถี่ยนมีผัวแล้ว อีเถี่ยนบ่ดี ” ( ออกเสียงคนอีสานพูด)

   ข้อที่น่าสังเกตสำหรับการมาเกิดใหม่ของจำรัส โดยเกิดเป็นเด็กชายบงกช ก็คือ ในอดีตชาติของเขาซึ่งเป็นหนุ่มจำรัสนั้น เขามีจิตใจมุ่งมาดปรารถนาอยากบวชเป็นพระภิกษุอย่างแรงกล้า เคยบอกพ่อว่าอยากบวชตั้งแต่อายุ ๑๕-๑๖ ปี มาแล้ว แต่พ่อแม่ไม่พร้อมจะจัดงานบวชให้ จึงผัดผ่อนเลื่อนมาเรื่อย ๆ กระทั่งจบชีวิตลงอย่างน่าอนาถ

   เมื่อเกิดใหม่เป็นเด็กชายตัวน้อย ๆ เด็กชายบงกชมีสายใยแห่งจิตใจใฝ่บุญสืบต่อมาจากชาติก่อนอยู่อีก เพราะเด็กมักจะพูดปรารภกับพ่อแม่ปุจจุบันเสมอ ๆ ว่า อยากบวชเป็นพระ บางครั้งก็เล่นเป็นพระโดยเอาผ้ามาคลุมตัว แล้วบอกกับแม่ว่า ตอนนี้โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว จะบวชเป็นพระแล้วละ แสดงให้เห็นว่าจิตใจเขาฝักใฝ่ในพระศาสนาไม่เปลี่ยนแปลง

   และที่น่าสังเกตอีกข้อก็คือ จำรัสเกิดในครอบครัวที่ดีกว่าเดิม โดยประเมินเอาจากฐานะของครูอมรและนางไสวมีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่าครอบครัวของนายม่าน และนางศรีนวลมากพอสมควรทีเดียว

    นี่คือบุคคลระลึกชาติได้อีกคนหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนเราตายแล้วต้องเกิด ชีวิตต้องเวียนว่ายในวัฎสงสารไม่มีที่สิ้นสุด. 

    จากพระมหา ดร. สุเทพ อกิญฺจโน จังหวัดชลบุรี
เรียบเรียงโดย ส. ทับทิมเทศ